คำแนะนำ

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็วเป็นการประเมินศักยภาพในการฟื้นตัวและระบุปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดของการฟื้นตัวตามธรรมชาติของพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเพื่อการฟื้นฟูป่า ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการฟื้นฟูโดยรวม ในกรณีที่จำเป็นต้องปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟู ข้อมูลที่ได้ยังสามารถใช้คำนวณจำนวนต้นไม้และชนิดพันธุ์ที่จะปลูกได้อีกด้วย

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว (Rapid site assessment: RSA)

RSA เป็นการพิจารณาระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่หนึ่งๆ ว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตัดสินว่ากลยุทธ์การฟื้นฟูโดยภาพรวมวิธีการใดที่เหมาะสมที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการประเมินพื้นที่โดยละเอียดมากที่สุด เพื่อกำหนดศักยภาพในการฟื้นตัวตามธรรมชาติของพื้นที่และปัจจัยจำกัดต่างๆที่จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวนั้น ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่ากิจกรรมใดที่ควรทำและต้องใช้ความพยายามในการฟื้นฟูมากน้อยเพียงใดในแต่ละพื้นที่ (เกี่ยวเนื่องกับแรงงานและต้นทุนในการฟื้นฟู) ทำให้เห็นภาพของแผนการการฟื้นฟูพื้นที่มากยิ่งขึ้น

RSA ทำอย่างไร?

วิธีการ RSA จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้ ได้แก่ เข็มทิศ แผนที่ภูมิประเทศ GPS (หรือแอปในมือถือ) กล้อง ถุงพลาสติก เสาโลหะยาว 2 เมตร เชือกยาว 5 ม. และแผ่นบันทึกข้อมูลพร้อมคลิปบอร์ดและดินสอ

กิจกรรมนี้มักมีการเชิญชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (โดยเฉพาะคนในท้องถิ่น) ให้เข้าร่วมการสำรวจพื้นที่ โดยจะเริ่มต้นด้วยการทำเครื่องหมายขอบเขตของพื้นที่บนแผนที่และบันทึกพิกัด GPS จากนั้นสำรวจกล้าไม้ธรรมชาติที่มีอยู่เดิม บนเส้นสำรวจซึ่งมักเป็นแนวขวางตามขอบเขตที่กว้างที่สุดของพื้นที่ เลือกจุดเริ่มต้นและเดินตามทิศทางของเข็มทิศ สร้างแปลงวงกลมรัศมี 5 ม. ตามแนวเส้นสำรวจ แล้วทำการเก็บข้อมูลในแปลงวงกลมนี้

Rapid site assessment
ภาพตัวอย่างกิจกรรม RSA เพื่อบันทึกกล้าไม้ธรรมชาติที่มีอยู่และปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวตามธรรมชาติโดยใช้แปลงวงกลมรัศมี 5 เมตร

ควรบันทึกข้อมูลอะไรบ้าง?

ใช้แผ่นบันทึกข้อมูลดังภาพด้านล่าง บันทึกสิ่งต่อไปนี้ที่สำรวจได้ในแต่ละวงกลมสำรวจ

  1. จำนวนและชนิดของกล้าไม้ตามธรรมชาติ (ไม้หนุ่มสูง >50 ซม. ต้นไม้ และตอไม้ที่มีชีวิต (coppicing)
  2. ความหนาแน่นของการปกคลุมพื้นดิน/วัชพืช/ไม้ล้มลุกต่างๆ
  3. ร่องรอยการเกิดไฟป่าหรือปศุสัตว์ (วัว ควาย ช้าง)

Example of datasheet for rapid site assessment

หลังจาก RSA

กิจกรรมการฟื้นฟูเบื้องต้นควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อ:

  • ป้องกันปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดของการฟื้นตัวของป่า (เช่น ไฟ ปศุสัตว์ การล่าสัตว์ที่เป็นผู้กระจายเมล็ด เป็นต้น)
  • การดูแลหรือเพิ่มจำนวนกล้าไม้ในพื้นที่ให้มีความหนาแน่น 3,100 ต้น/เฮกตาร์ หรือ 500 ต้น/ไร่ (ถ้าความหนาแน่นมากกว่าแล้ว ปลูกต้นไม้อีกเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความหลากชนิดของพันธุไม้ในพื้นที่เท่านั้น);
  • เพิ่มความหลากชนิดของพันธุ์ไม้ประมาณ 10% ของป่าเป้าหมาย

เลือกกลยุทธ์การฟื้นฟูป่าในวงกว้างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ได้ทำการสำรวจไว้และเริ่มวางแผนงานการจัดการ ประกอบด้วย มาตรการป้องกัน (เช่น การยกเว้นปศุสัตว์และ/หรือการป้องกันไฟป่า) ความสมดุลระหว่างการปลูกต้นไม้และการดูแลรักษากล้าไม้ตามธรรมชาติ ประเภทของพันธุ์ไม้ที่จะปลูก ความจำเป็นในการปรับปรุงดิน เป็นต้น

คำแนะนำแบบเต็มเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ RSA อยู่ในบทที่ 3 ของ "Restoring Tropical Forest: a practical guide

 

 

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู

Publication dateOct 2023
Author(s)พนิตนาถ แชนนอน
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาครอบคลุมถึงการรบกวนที่ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นตัวของธรรมชาติ ทำให้มวลชีวภาพลดลงและสภาพดินเปลี่ยนแปลงไป...

4: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

5: เกาะต้นไม้ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบในภูมิทัศน์ปาล์มน้ำมัน

Publication date24 May 2023
Author(s)Zemp, D.C., N. Guerrero-Ramirez, F. Brambach, K. Darras, I. Grass, A. Potapov, A. Röll, I. Arimond, J. Ballauff, H. Behling, D. Berkelmann, S. Biagioni, D. Buchori, D. Craven, R. Daniel, O. Gailing, F. Ellsäßer, R. Fardiansah, N. Hennings et al.
PublisherNature
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ:...

6: การใช้ภาพถ่าย RGB จากอากาศยานไร้คนขับเพื่อหาตัวแปรบ่งชี้เชิงปริมาณของความเสื่อมโทรมและการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน  

Publication date16 Mar 2023
Author(s)Lee, K.; Elliott, S.; Tiansawat, P.
PublisherForests
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การจำแนกระดับของความเสื่อมโทรมของป่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน...

7: ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้: เสริมรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ

Publication date14 Nov 2022
Editors(s)Marshall AR, Banin LF, Pfeifer M, Waite CE, Rakotonarivo S, Chomba S, Chazdon RL.
PublisherThe Royal Society Publishing
Format
Journal Paper

ภายใต้ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ พ.ศ. 2564-2573 ไม่มีเวลาที่สำคัญหรือเหมาะสมอีกต่อไปในการฟื้นฟูป่า ซึ่งมีความสำคัญต่อสายพันธุ์ ผู้คน และสภาพอากาศของโลก อย่างไรก็ตาม...

8: วิธีพรรณไม้โครงสร้าง - การใช้ประโยชน์จากการฟื้นฟูตามธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Publication date14 Nov 2022
Author(s)Elliott, S., N.I.J. Tucker, D. Shannon & P. Tiansawat
PublisherPreprint (submitted to Phil. Trans. B.)
Format
Journal Paper

บทนำ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าโดยปลูกต้นไม้ในพื้นที่เปิดใกล้กับป่าธรรมชาติ โดยชนิดพรรณไม้เป็นไม้ยืนต้น มีลักษณะเฉพาะเหมาะกับพื้นที่นั้น และเร่งการฟื้นตัวของระบบนิเวศ...

9: การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าระยะเริ่มต้นในพื้นที่เหมืองเปิด

Publication dateSep 2022
Author(s)Changsalak, P.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การติดตามตรวจสอบการฟื้นฟูป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของเทคนิคการฟื้นฟู แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของค่าจ้างแรงงาน...

10: การประเมินความเสื่อมโทรมของป่าโดยใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการวางแผนและติดตามการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า: ในส่วนดัชนีความเสื่อมโทรมของป่า

Publication dateNov 2021
Author(s)Kyuho Lee
PublisherCGIAR Research Program on Forests, Trees and Agroforestry and Rome, Italy: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: โครงการริเริ่มระดับโลก เช่น Bonn Challenge และ New York Declaration on Forests ก่อให้เกิดโครงการฟื้นฟูป่าขนาดใหญ่เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ...