ร่วมฟื้นฟูผื่นป่ากับ SIG

ร่วมฟื้นฟูผื่นป่ากับ SIG

SIG Combibloc Ltd. สนับสนุนการฟื้นฟูป่าด้วยน้ำใจและการลงมือทำ

Language:

ถ่ายรูปร่วมกันกับป้ายสนับสนุนSIG Combibloc Ltd. สนับสนุนเงินจำนวน 100,000 บาท ในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมบ้านโป่งแยงนอก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ทุกปี หน่วยวิจัยฟื้นฟูป่าร่วมมือกับ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ (RIF) อุทยานแห่งชาติ และโรงเรียนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมปลูกป่าในพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม โดยกิจกรรมเหล่านี้จะจัดขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยใช้วิธี "พรรณไม้โครงสร้าง" (Framework Species Method) ในการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม พร้อมดูแลต้นกล้าที่ปลูกไปแล้วต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าต้นไม้เหล่านี้จะเติบโตได้อย่างแข็งแรงและฟื้นคืนสภาพป่าได้อย่างยั่งยืน

ในปี 2567 อุทยานดอยสุเทพ-ปุยติดต่อให้หน่วยวิจัยเข้าไปช่วยฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจากไฟ ใกล้หมู่บ้านโป่งแยงนอก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ฟื้นฟู โดยใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองที่พบในป่าธรรมชาติ ซึ่งเพาะกล้าและดูแลโดยเรือนเพาะชำชุมชนของหน่วยวิจัย ที่ดำเนินการโดยชาวบ้านในพื้นที่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก SIG Combibloc Ltd. และดำเนินการประสานงานโดย มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ (RIF)

กิจกรรมปลูกป่าในปีนี้จัดขึ้นทั้งหมด 3 วัน

  • วันที่ 29 มิถุนายน 2567 : หน่วยวิจัยฯ ร่วมมือกับ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ชาวบ้านชาวม้ง และนักเรียนจาก โครงการยุวชนฟื้นฟูป่า ในการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทดลองปริมาณของปุ๋ยที่ส่งผลต่อกล้าไม้ในแปลงฟื้นฟู
  • วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 : หน่วยวิจัยฯ ร่วมกับ SIG Combibloc Ltd.. ปลูกต้นกล้าจำนวน 400 ต้น ในพื้นที่ 1 ไร่
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2567 : หน่วยวิจัยฯ ร่วมมือกับ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และนักเรียนจาก โครงการยุวชนฟื้นฟูป่า ปลูกเพิ่มในพื้นที่นอกเหนือจากแปลงทดลอง

SID Combibloc Ltd. ได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการฟื้นฟูป่าในปีนี้ ผ่านการบริจาคเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อสนับสนุนทั้งการปลูกต้นไม้และการดูแลพื้นที่ฟื้นฟูให้สมบูรณ์หลังการปลูก ความช่วยเหลือนี้ไม่เพียงแต่เป็นแรงสนับสนุนทางการเงิน แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างระบบนิเวศให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ทีมผู้บริหารและพนักงานจำนวน 35 คน จาก SID Combibloc Ltd. ได้รับการประสานงานจากมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ (RIF) ลงพื้นที่ แปลงฟื้นฟูบ้านโป่งแยงนอก เพื่อร่วมกันปลูกต้นกล้าจำนวน 400 ต้น แต่ละต้นที่ถูกปลูกลงดินในวันนั้นเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง ที่จะเติบโตเป็นผืนป่าอันสมบูรณ์ในอนาคต

FORRU-CMU ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูป่า ทีมงานได้ให้คำแนะนำและสาธิตเทคนิคการปลูกที่ถูกต้อง เพื่อให้ต้นกล้าได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีโอกาสเติบโตได้ดีที่สุด หลังจากการปลูก ต้นกล้าทั้ง 400 ต้น ก็ได้รับการบำรุงด้วยปุ๋ย 50 กรัม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตและเสริมสร้างความแข็งแรง

ทุกคนช่วยกันขนต้นกล้าSIG ช่วยกันขนกล้าไม้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับลงหลุมปลูก

กิจกรรมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยความตั้งใจของ SID Combibloc Ltd. และพันธมิตรที่ร่วมแรงร่วมใจ เราจึงได้ก้าวไปอีกขั้นในการฟื้นฟูผืนป่า คืนความเขียวขจีให้แก่โลก และสร้างมรดกทางธรรมชาติให้แก่คนรุ่นต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติมของแปลงฟื้นฟูบ้านโป่งแยงนอก คลิ๊ก