หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดทำโครงการฟื้นฟูป่าโดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุดและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรม 1,440 เฮกตาร์ ของดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย โครงการนี้ถูกริเริ่มจาก "การดำรงชีวิตและภูมิทัศน์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ" โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากมูลนิธิ Plant a Tree Today (PATT) พื้นที่ฟื้นฟูเป็นพื้นที่การเกษตรบนเนินสูงชันเสี่ยงต่อการพังทลายของดินและดินถล่ม
วัตถุประสงค์:
- เปลี่ยนแปลงพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์
- ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าเป็นผู้สนับสนุนด้านวิธีการและงานวิจัยสำหรับโครงการตั้งแต่ปี 2550-2553 ได้จัดประชุมวางแผนแนวทางที่จัดโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ประกอบไปด้วย 6 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐท้องถิ่น คุณครูอาสา และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่า
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้สนับสนุนจัดตั้งเรือนเพาะชำ 8 แห่ง ตั้งอยู่ในโรงเรียนชุมชน และมีหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดอบรมวิธีการเพาะกล้าไม้ในเรือนเพาะชำทั้งหมด 8 แห่งในปี 2552 มีเนื้อหาประกอบด้วยการเพาะเฟมล็ด การย้ายกล้าไม้ การดูแลกล้าไม้ และการปลูกและรักษาต้นกล้าในแปลงฟื้นฟู
การเก็บเมล็ดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ให้การสนใจ โดยที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้จัดกิจกรรมที่มีชื่อว่า "ลูกไม้ป้า" โดยให้นักเรียนได้ทดลองเขียนและติดแท็กให้กับต้นไม้ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเก็บเมล็ดและนำมาเพาะชำต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการทดลองในแปลงฟื้นฟูเพื่อหาชนิดพรรณไม้โครงสร้างที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่าร่วมกับชุมชน (FORRU, 2006) ณ บ้านหล่อโย หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าให้การช่วยเหลือในด้านการติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้และทดสอบประสิทธิภาพของกล้าไม้ในแปลง เพื่อรายงานผลให้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ