โครงการ BKIND กับ The Next Forest

โครงการ BKIND กับ The Next Forest

การดูแลและติดตามฟื้นฟูป่าในพื้นที่บ้านแม่สา

Language:

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนและการติดตามผลในแปลงฟื้นฟูในพื้นที่บ้านแม่สาใหม่ ตลอดจนงานวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการฟื้นฟูต่อคาร์บอนในป่าและการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้ที่ให้ทุนสนับสนุน คือ THE NEXT FOREST จากกองทุน BKIND ของธนาคารกรุงเทพ  

มี 3 โครงการย่อย ได้แก่:

  • การป้องกันไฟป่าของแปลงฟื้นฟูในพื้นที่บ้านแม่สาของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มช. (ปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2539 - 2556)  - โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนท้องถิ่นในการทำแนวกันไฟในเดือนกุมภาพันธ์ และหน่วยงานควบคุมไฟป่า รวมถึงการใช้โดรนสำรวจ เพื่อติดตามและป้องกันไฟป่า
  • การเปลี่ยนพื้นที่สวนสนที่ได้รับความเสียหายจากวาตภัยเป็นป่าธรรมชาติ ที่บ้านปงไคร้ (BPK) หลังจากมีการปลูกต้นไม้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 โครงการนี้ได้ให้การสนับสนุนการดูแลรักษาและการติดตามผลของแปลงพื้นที่นี้ รวมถึงการทำแนวกันไฟ นอกจากนี้โครงการนี้ยังได้ให้นักเรียนเข้ามาในพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า ภายใต้โครงการยุวชนฟื้นฟูป่า (YFR)BPK22 monitoringการติดตามผลต้นกล้าที่ปลูกในแปลงสวนสน ที่บ้านปงไคร้
  • ผลกระทบของการฟื้นฟูต่อคาร์บอนในป่าและการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพในระบบแปลงฟื้นฟูที่บ้านแม่สาใหม่ โครงการนี้ได้สนับสนุนการทำงานภาคสนามของนักศึกษาปริญญาตรี 4 คน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษาผลกระทบระยะยาวของการฟื้นฟูที่มีผลต่อคาร์บอนและความหลากหลายทางชีวภาพ ปีแอร์ ชาน และ เจอรี่ ศึกษาเกี่ยวกับการสะสมคาร์บอนของต้นไม้และดิน ในขณะที่ เนย์ศึกษาการใช้กล้องดักถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กลับมายังแปลงฟื้นฟู และ สก็อตต์ ศึกษาการติดตามความหลากหลายของชุมชนนก การศึกษาเหล่านี้ได้เปรียบเทียบระหว่างแปลงป่าฟื้นฟู อายุ 12 ปี และ 24 ปี ฟื้นที่ป่าธรรมชาติ (ป่าอ้างอิง) และพื้นที่เกษตรกรรมที่เปิดโล่ง (แปลงที่มีการใช้ที่ดินก่อนเริ่มการฟื้นฟู)
  • Large Indian Civietชะมดแผงหางปล้อง ถูกถ่ายได้จากกล้องดักถ่ายภาพในแปลงป่าฟื้นฟูอายุ 24 ปี ในพื้นที่หมู่บ้านแม่สาด้านบน สัตว์ชนิดนี้ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ได้ดีในระยะทางไกลข้ามผืนป่าที่แบ่งแยกกันSharmaนกการเขนดง พบบ่อยในพื้นที่แปลงฟื้นฟู ลักษณะนิสัยเป็นมิตรและเข้าถึงง่าย (รูปถ่ายโดย S. Elliott)