FORRU
ห้องสมุด

กิจกรรมของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ทางภาคเหนือของประเทศไทย

Language:
กิจกรรมของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ทางภาคเหนือของประเทศไทย
Date:
1996
Author(s):
Elliott S., V. Anusarnsunthorn, S. Kopachon, D. Blakesley & N. C. Garwood
Publisher:
World Heritage Tropical Forests Conference
Serial Number:
180
Suggested Citation:

 Elliott S., V. Anusarnsunthorn, S. Kopachon, D. Blakesley & N. C. Garwood, 1996. Activities of the forest restoration research unit, northern Thailand. P 8 in World Heritage Tropical Forests Conference, Science for Better Understanding and Management, Handbook and Abstracts.

 

กิจกรรมของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ทางภาคเหนือของประเทศไทย
(Activities of the Forest Restoration Research Unit, northern Thailand)

Stephen Elliott1, Vilaiwan Anusarnsunthorn1, Siriporn Kopachon1, David Blakesley2 and Nancy Garwood3

1 Forest Restoration Research Unit, Department of Biology, Faculty of Science, Chiang Mai University, Thailand 50200

2University of Bath, School of Biology and Biochemistry, Bath BA2 7AY, U.K.

3Department of Botany, The Natural History Museum, Cromwell Road, SW7 5BD, London, U.K.

การนำเสนอนี้ เป็นการรวบรวมการทำงานของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ซึ่งมีฐานอยู่ที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทางภาคเหนือของประเทศไทย (Elliott et al. 1995) ถึงแม้ว่า อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยไม่ได้เป็นมรดกโลก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่ของหน่วยวิจัย FORRU สามารถนำไปใช้เพื่อการฟื้นฟูป่ามรสุมที่พบได้ทั่วไปในบริเวณเป็นมรกดกโลก ทั้งที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง) และที่ได้รับการเสนอชื่อ (อุทยานแห่งชาติภูกระดึง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) หน่วยวิจัย FORRU เป็นการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกรมป่าไม้ โดยมีการสนับสนุนจาก Riche Monde (Bangkok) Ltd. ก่อตั้งขึ้นเพื่อหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการส่งเสริม และเร่งการเกิดใหม่ของป่าอย่างเป็นธรรมชาติในพื้นที่ป่าถูกทำลายภายในพื้นที่คุ้มครอง เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุรักษ์ลุ่มน้ำ

นักวิจัยในหน่วยวิจัย FORRU ได้เฝ้าสังเกตการณ์ชีพลักษณ์ของพันธุ์ไม้มากกว่า 90 ชนิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับฤดูที่มีเมล็ด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกดอกและผล มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดกับผล และกลไกการกระจายตัวในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และดำเนินการทดลองเกี่ยวกับการงอกของเมล็ดในพันธุ์ไม้ท้องถิ่นหลายร้อยชนิด เพื่อให้ทราบว่า การงอกมีความต้องการอะไรบ้าง รวมถึงการปลูกที่เหมาะสมในพื้นที่ป่าถูกทำลาย

รวมถึงมีการบรรยายลักษณะ และวาดภาพต้นกล้าในแต่ละระยะการเจริญเติบโต ซึ่งรวบรวมไว้ในคู่มือการระบุต้นกล้า เพื่อใช้เสริมในโครงการฟื้นฟูป่า ตัวอย่างต้นกล้าอ้างอิง (seedling specimen) ถูกรวบรวมและจัดเก็บไว้ที่หอพรรณไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีการตีพิมพ์บัญชีสายพันธุ์ (Kopachon et al. 1996) ด้วยการรวมมือของชนเผ่าม้ง จึงสามารถดำเนินการทดลองการปลูกด้วยวิธีการต่างๆ ในบริเวณที่ป่าถูกทำลายภายในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภายใต้สภาวะที่หลากหลายของภูมิอาการขนาดหย่อม (microclimate), ภูมิประเทศ,ลักษณะของดิน และอื่นๆ มีการเก็บข้อมูลอัตราการรอดชีวิต และอัตราการเจริญของต้นกล้าหลายสายพันธุ์

หน่วยวิจัย FORRU พัฒนาระบบที่จะเร่งการเกิดใหม่ของป่าตามธรรมชาติ โดยการระบุสายพันธุ์ต้นกล้าที่เกี่ยวข้องกับป่าสมบูรณ์ (Primary forest) ซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่ป่าถูกทำลายในระยะต้นของกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บางสายพันธุ์มีจำนวนจำกัดด้วยการสูญพันธุ์ของเมล็ด บางระบบอาจเพิ่มความหนาแน่น และความหลากหลายทางชีวภาพในการเกิดใหม่ของป่า และดังนั้น จึงเร่งการกลับมาของสัตว์ป่าได้มากเท่ากับที่หายไปในหลายอุทยานแห่งชาติทางภาคเหนือของประเทศไทย และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

กิตติกรรมประกาศ

ทางองค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (International Tropical Timber Organization Fellowship) ทำให้ผู้ที่มีชื่อในงานวิจัยเป็นชื่อแรกได้เข้าร่วมการประชุม World Heritage Tropical Forests Conference รวมถึงหน่วยวิจัย FORRU ได้รับการส่งเสริมโดย Riche Monde (Bangkok) Ltd ในส่วนของโครงการในบริษัทเพื่อการสนับสนุนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และการศึกษา

เอกสารอ้างอิง

Elliott, S., Anusarnsunthorn, V., Garwood, N.C. and Blakesley, D. (1995) Research needs for restoring the forests of Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43(2):179-184.

Kopachon, S., Suriya, K., Hardwick, K., Pakaad, G., Maxwell, J.F., Anusarnsunthorn, V., Blakesley, D., Garwood, N.C. and Elliott, S.  (1996) Forest restoration research in northern Thailand: 1. The fruits, seeds and seedlings of Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae). Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 44(1) (in press).