FORRU
ห้องสมุด

งานวิจัยที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูป่าของประเทศไทย

Language:
Research needs for restoring the forests of Thailand
Date:
1995
Author(s):
Elliott, S., V. Anusarnsunthorn, N. Garwood & D. Blakesley
Publisher:
Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43(2): 179-184. The Siam Society.
Serial Number:
17
Suggested Citation:

Elliott, S., V. Anusarnsunthorn, N. Garwood & D. Blakesley, 1995. Research needs for restoring the forests of Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 43(2): 179-184.

ภายหลังจากที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU-CMU) ถูกก่อตั้งขึ้นไม่นาน ในปี 1994 เราได้เขียนบทความนี้ร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งจากอังกฤษ เพื่อยกระดับรายละเอียดของแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่า และจัดวางหลักสูตรการวิจัยของหน่วยงานที่ได้ตั้งเป้าไว้  

ด้วยความตระหนักรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าไม่ได้รับการเพิ่มเติมไปจากเดิมมากนัก โดยทั่วไปจะรู้ว่าการสูญเสียป่าไม้ จะทำให้เกิดอุทกภัยและความแห้งแล้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและความยากจนของชุมชนในชนบทที่รุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การปกป้องพื้นที่ป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายที่ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและกฎหมาย ดังนั้น เพื่อชดเชยการทำลายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจำนวนมากที่ควรถูกฟื้นฟูให้กลับมาเป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องแหล่งต้นน้ำ และส่งเสริมวิถีชีวิตของชุมชนในชนบท ภายในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การอนุรักษ์สัตว์ป่าและการปกป้องต้นน้ำ การปลูกป่าควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ดั้งเดิมให้กลับคืนมาอย่างถาวร ใกล้เคียงป่าเดิมให้มากที่สุด โดยการเร่งกระบวนการตามธรรมชาติของการฟื้นตัวของป่าป่าชุมชนในเขตกันชนรอบพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อื่น ๆ ยังต้องการการฟื้นฟูของระบบนิเวศป่าไม้ที่ใกล้เคียงธรรมชาติ เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์จากป่าไม้และบริการด้านนิเวศวิทยาที่หลากหลายแก่คนในท้องถิ่น ความกระตือรือร้นซึ่งประชาชนทั่วไปได้เข้าร่วมในกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนของสาธารณชนอย่างมหาศาลในการฟื้นฟูป่าโดยใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่นในวงกว้าง โครงการเหล่านี้ริเริ่มและดำเนินการโดยองค์กรที่หลากหลาย รวมทั้งกรมป่าไม้ กองทัพบก มูลนิธิการกุศล บริษัทเอกชน กลุ่มศาสนา และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ ซึ่งมักจะทำงานร่วมกัน การให้โอกาสผู้คนได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทำให้กิจกรรมการปลูกต้นป่าเหล่านี้ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพียงแค่งานวิจัยง่ายๆ สามารถนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าได้