FORRU
ห้องสมุด

ความเข้าใจกระบวนการเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติในป่าดิบเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Language:
Understanding and assisting natural regeneration processes in degraded seasonal evergreen forests in northern Thailand
Date:
1997
Author(s):
Hardwick, K., J. Healey, S. Elliott, N. C. Garwood & V. Anusarnsunthorn
Publisher:
Elsevier, Forest Ecology and Management 99:203-214.
Serial Number:
101
Suggested Citation:

Hardwick, K., J. Healey, S. Elliott, N. C. Garwood and V. Anusarnsunthorn, 1997. Understanding and assisting natural regeneration processes in degraded seasonal evergreen forests in northern Thailand. Forest Ecology and Management 99:203-214.

บทนำ: ภาครัฐของประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม หนึ่งในเป้าหมายคือการเร่งกระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติโดยปัจจัยที่จำกัด ได้แก่ ปริมาณสัตว์กระจายเมล็ดไม่เพียงพอ ปริมาณร่มเงาไม่เพียงพอ และปริมาณวัชพืชหนาแน่นจนเกินไป งานวิจัยนี้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยวิเคราะห์การเจริญเติบโตของเมล็ดในแต่ละช่วงอายุในพื้นที่แปลงเกษตรกรรมที่ถูกปล่อยทิ้งร้างเพื่อหาปัจจัยที่จำกัดและพัฒนาปรับใช้เทคนิคการเร่งกระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติในพื้นที่ ข้อมูลเมล็ดผล กากระจายของเมล็ด การเพาะเมล็ด และการรอดชีวิตของกล้าไม้ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลภาคสนามเพื่อตรวจสอบผลกระทบของปริมาณแสงและความชื้นต่อการงอกของเมล็ดพืชและผลของการรบกวนของวัชพืชที่อยู่เหนือพื้นดินต่อประสิทธิภาพของต้นกล้าในปีแรก ชนิดพรรณเหล่านี้ถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อศึกษากระบวนการฟื้นตัวในพื้นที่เสื่อมโทรม

อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของเมล็ด Beilschmiedia sp. อยู่ในระดับสูงแต่มีการกระจายเม็ดที่ต่ำและอัตราการเพาะลดลงในช่วงฤดูกาลที่มีปริมาณน้ำฝนน้อย ต้นกล้ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีแสงแดดในปริมาณมาก การเพาะชำในเรือนเพาะชำและปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรมภายใต้ร่มเงาอาจเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติของชนิดนี้

เมล็ด Prunus cerasoides ถูกปลูกในสองปีของการศึกษา แต่การเข้ามาของต้นกล้าในพื้นที่รกร้างมีจำนวนจำกัด ส่วนใหญ่เกิดจากการกระจายเมล็ดไม่เพียงพอ ภายใต้เงื่อนไขการทดลอง พบว่าเมล็ดและต้นกล้าเจริญเติบโตรวดเร็ว ดังนั้นการหว่านเมล็ดโดยตรงในพื้นที่เสื่อมโทรมอาจเหมาะสม อีกวิธีหนึ่งอาจสนับสนุนการกระจายเมล็ดพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของนก

เมล็ด Engelhardia spicata ถูกกระจายโดยลมและกระบวนฟื้นตัวตามธรรมชาติถูกจำกัดในช่วงแรก พบว่ามีอุปสรรคทางกายภาพ ได้แก่ ลำต้นหนาและเศษใบไม้ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยจำกัด อุปสรรคนี้สามารถเอาชนะได้โดยการกำจัดวัชพืช (โดยเฉพาะหญ้าและเฟิร์น) หรือสร้างร่มเงาด้วยต้นไม้อื่น

บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในการดำเนินการของการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นในวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 2541 "ผลการเร่งปฏิกิริยาของการปลูกต้นไม้ต่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ: การวิเคราะห์เชิงสำรวจ"

หากต้องศึกษางานวิจัยของเคท ฮาร์ดวิค เพิ่มเติมสามารถคลิ๊กที่นี่