ความร่วมมือและความท้าทายในการพัฒนาเทคนิคการฟื้นฟูป่าต้นน้ำในภาคเหนือของประเทศไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

Elliott, S., S. Chairuangsri, C. Kuaraksa, S. Sangkum, K. Sinhaseni, D. Shannon, P. Nippanon & B. Manohan. 2019. Collaboration and conflict - developing forest restoration techniques for northern Thailand’s upper watersheds whilst meeting the needs of science and communities. Forests 10(9): 732; https://doi.org/10.3390/f10090732
Contributors








บทความนี้อธิบายถึงตัวอย่างแรกเริ่มของการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน และหน่วยงานอุทยานแห่งชาติในหุบเขาแม่สา ใกล้เมืองเชียงใหม่ทางทิศเหนือของประเทศไทย ชุมชนม้งบ้านแม่สาใหม่ หน่วยงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพและหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำงานร่วมกันตามกำหนดเวลาของแผนการฟื้นฟูตั้งแต่ปี พ.ศ.2539-พ.ศ.2559 เพื่อทดสอบการฟื้นฟูป่าโดยพันธุ์ไม้โครงสร้าง โครงการนี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิคฟื้นฟูป่าและได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อชาวบ้านในการฟื้นฟูป่า การฟื้นฟูของชีวมวลในป่า การกักเก็บคาร์บอน โครงสร้าง ความหลากหลายทางชีวภาพและการทำงานของระบบนิเวศนั้นเกินความคาดหมาย โดยชาวบ้านต่างชื่นชมการปรับปรุงน้ำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันเป็นผลจากโครงการนี้ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้นกับหน่วยงานอุทยานรวมถึงความมั่นคงปลอดภัยของพื้นที่อย่างไรก็ตามไม่นานมานี้มาตรการการตัดต้นไม้และการป้องกันอัคคีไฟลดน้อยลงซึ่งอาจเป็นความเหนื่อยล้าของโครงการ โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีต่อการฟื้นฟูป่า การสนับสนุนหน่วยงานในระยะยาวและการระดมทุนที่เหมาะสมจะนำไปสู่ความยั่งยืน