พุทธิดา นิพพานนท์ (ดั๊ก)
ดั๊กจบการศึกษาในระดับปริญญาโทจากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (เงินสนับสนุนจากไบโอทรอปิกกา ออสเตรเลีย ) ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2556 ถึง 2559 ในขณะเดียวดั๊กได้ศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวกล้อม หัวข้อวิจัย ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้โครงสร้างในระบบนิเวศป่าดิบเขา และได้รับรางวัลจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปีพ.ศ.2559 ดั๊กมีหน้าที่รับผิดชอบการวางแผนกิจกรรมฟื้นฟูป่า เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงาน รวมถึงนำเสนอแปลงทดลองแห่งแรกภายใต้โครงการ PES หรือ การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ ณ บ้านปงไคร้ ดั๊กยังช่วยจัดอบรมวิชาการและกิจกรรมด้านการศึกษา และมีส่วนช่วยจัดงานประชุม การฟื้นฟูป่าอัตโนมัติ และเป็นผู้แทนในการประสานงานโครงการต่างๆ ได้แก่ LEAF , PUR Projet , RIF ซึ่งตอนนี้ดั๊กเข้าร่วมในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามร่วมกับรีคอฟ (RECOFTC)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
- Nippanon, P. & D. P. Shannon, 2016. Fire resilience of framework tree species in hill evergreen forest. Pages 57-64 in Proceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand, The Impress Nan Hotel, Nan Province, Thailand. June 15-17, 2016.
- Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott, 2018. Effects of weeds on survival and growth of planted seedlings of native forest tree species during forest restoration in Northern Thailand. KKU Sci. J. 46(4):751-760
- Elliott, S., S. Chairuangsri, C. Kuaraksa, S. Sangkum, K. Sinhaseni, D. Shannon, P. Nippanon & B. Manohan. 2019. Collaboration and conflict - developing forest restoration techniques for northern Thailand’s upper watersheds whilst meeting the needs of science and communities. Forests 10(9): 732; https://doi.org/10.3390/f1009073