ผู้ที่ได้รับทุนจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ปี พ.ศ.2565

ผู้ที่ได้รับทุนจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ปี พ.ศ.2565

Language:

FORRU-CMU ยังคงสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รวมทั้งจัดหาทรัพยากรและโอกาสที่จำเป็นในการสร้างความแตกต่าง ในปีนี้ (พ.ศ. 2565) หน่วยวิจัยฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการวิจัยของนักศึกษา 3 คนที่ทำงานในหัวข้อการฟื้นฟูป่า ความทุ่มเท ความขยันหมั่นเพียร และแนวทางใหม่ๆ ของพวกทำให้เกิดการเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศป่า พร้อมทั้งเป็นพื้นฐานไปสู่กลยุทธ์การฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของพวกเขาและรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นว่าการค้นพบของพวกเขาจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการอนุรักษ์ในอนาคตได้อย่างไร

 ไวปราชญ์ สุวรรณรัตน์ (นักศึกษาปริญญาโท) กำลังศึกษาเทคโนโลยี LiDAR เพื่อติดตามการฟื้นตัวของโครงสร้างป่าไม้ในระดับภาคพื้น ชื่อวิทยานิพนธ์ของเขา คือ 'การหาปริมาณความซับซ้อนของโครงสร้างป่าและเรือนยอดไม้โดยใช้ LiDAR: การทดสอบประสิทธิภาพของวิธีกาในป่าประเภทต่างๆ'Mr. Waiprach Suwannarat is working with LiDAR technology to monitor forest structural development from the ground.ไวปราชญ์ สุวรรณรัตน์ กำลังใช้เทคโนโลยี LiDAR เพื่อติดตามการพัฒนาโครงสร้างป่าไม้จากพื้นดิน

Mr. Sirui Tao (นักศึกษาปริญญาตรี) กำลังทดสอบการใช้โดรนเพื่อติดตามการฟื้นตัวของป่าโดยการสำรวจทางอากาศ ในหัวข้อเรื่อง 'การประเมินโครงสร้างเรือนยอดและความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โดรนกับการสำรวจภาคพื้นดินของแปลงฟื้นฟูป่าในช่วงอายุต่างๆ' โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาในพื้นที่ฟื้นฟูป่า ม่อนแจ่ม​​​​Mr. Sirui Tao is conduction research on using a drone to assess canopy structure development during restoration.​​​​Mr. Sirui กำลังทดสอบการใช้โดรนเพื่อประเมินการพัฒนาโครงสร้างเรือนยอดไม้

น.ส.กุลนารี ผักกาด (นักศึกษาปริญญาตรี) กำลังศึกษาเรื่องการจัดเก็บเมล็ด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปริมาณความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดและความสามารถในการงอกของเมล็ดหลังการเก็บรักษา การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการวางแผนกลยุทธ์การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไม้ การเพิ่มปริมาณการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ และการจัดเก็บเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดMaintaining viability during seed storage is vital, if direct seeding is to become an effective tool for the restoration of tropical forest ecosystems.การรักษาความมีชีวิตของเมล็ดในช่วงระหว่างการจัดเก็บเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ในอนาคตหากการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดได้ถูกพัฒนาให้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน