ผู้ที่ได้รับทุนจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ปี พ.ศ.2564

ผู้ที่ได้รับทุนจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ปี พ.ศ.2564

Language:

FORRU grantees in 2021FORRU grantees in 2021.บทคัดย่อ

ปัญหาการทำลายป่าและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมากสำหรับหลายประเทศในเขตร้อน การส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวและการฟื้นฟูป่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้พื้นที่ป่ากลับคืนมา รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และรวมไปถึงการเยียวยาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภาคเหนือของประเทศไทย พื้นที่ป่าไม้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูกทำให้พื้นที่ทรุดโทรมและส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีหลายองค์กรที่พยายามเข้ามาฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมนี้ ซึ่งควรต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่แตกต่างกัน

งานวิจัยนี้ ได้นำเสนอเกี่ยวกับความหลากหลายของเมล็ดที่กระจายเข้ามาสู่พื้นที่และต้นกล้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พร้อมติดตามการเข้ามาใช้ประโยชน์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาความสำเร็จของการฟื้นฟูป่า การศึกษานี้ได้ทำในพื้นที่ป่าฟื้นฟูที่ ‘ม่อนแจ่ม’ และ ‘ม่อนล่อง’ แล้วเปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าธรรมชาติม่อนแจ่ม ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ได้แก่ (i) เพื่อเปรียบเทียบความหลากหลายและการเติบโตของต้นกล้าธรรมชาติระหว่างพื้นที่ฟื้นฟูกับป่าธรรมชาติ (ii) เพื่อตรวจสอบความหลากหลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและความถี่ของการพบในป่าที่ได้รับการฟื้นฟูเทียบกับป่าธรรมชาติ และ (iii) เพื่อเปรียบเทียบชนิดของเมล็ดพันธุ์ และผู้ล่าเมล็ดพันธุ์ในป่าฟื้นฟูกับป่าที่ธรรมชาติ ผลงานจากแต่ละวัตถุประสงค์สามารถเข้าถึงได้ที่ห้องสมุดหรือ related publication ในหน้านี้...

งานวิจัยนี้มีผู้ทำวิจัยทั้งหมด 4 คนได้แก่: 

  1. นายคริสมัส เกิดศักดิ์
  2. นางสาวอัจฉราวรรณ แซ่เอี้ยว
  3. นางสาวฐิตารีย์ แย้มศรี
  4. นางสาวปาลิตา กุญชร

Students and P'Aom were preparing seed trapsน้องๆนักศึกษาและพี่อ้อมช่วยกันเตรียมอุปกรณ์สำหรับทดลอง 

Collecting seeds from the trapsเก็บตัวอย่างเมล็ดที่กับดักเมล็ด

Field grantee checking a camera trapเช็คกล้อง เปลี่ยนถ่าน และเช็ครูปกันหน่อย​​​​​