ยิ่งลักษณ์ รัตนผ่องใส
ยิ่งลักษณ์จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวข้องานวิจัยปริญญาเอกคือ “ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับคืนของชนิดไม้ยืนต้นในพื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย ” การศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามในแปลงฟื้นฟูป่าบ้านแม่สาใหม่ (แปลงปี 1998, 2002, และ 2006) ข้อมูลในพื้นที่ เช่น พื้นที่ต้นไม้ใหญ่, ดัชนีพื้นที่ใบไม้ (leaf area index, LAI), และค่าความจุภาคสนาม (soil field capacity, FC) อีกทั้งทำการเก็บข้อมูลกล้าไม้ และต้นไม้ใหญ่ เช่นค่าความหนาแน่นต้นไม้ และค่าความหลากหลายของชนิดต้นไม้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับแปลงที่เกิดการทดแทนตามธรรมชาติอายุ 14 ปี (แปลงควบคุม) และป่าธรรมชาติดงเส้ง (DSF) จากผลการศึกษาพบการฟื้นคืนกลับมาของสภาพป่า และมีกล้าไม้ธรรมชาติเข้ามาเจริญในแปลฟื้นฟูป่า โดยที่ค่าความหนาแน่นและความหลากหลายโน้มเอียงเข้าหาสภาพแวดล้อมของป่าธรรมชาติดงเส้ง และพบว่าวิธีการฟื้นฟูป่าในรูปแบบพรรณไม้โครงสร้างช่วยเร่งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมป่าได้เร็วกว่าการปล่อยให้เกิดการทดแทนตามธรรมชาติ (แปลงควบคุม) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบพืชประเภทหญ้าลำต้นสูงใหญ่ขึ้นปกคลุม แต่พบต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเพียงเล็กน้อย
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
- Ratanapongsai, Y., 2018. Factors Affecting the Recruitment of Tree Species in Restored Tropical Forest, Chiang Mai Province, Thailand. PhD Thesis, Chiang Mai University Graduate School
- Ratanaponsai, Y., 2020. Seedling recruitment of native tree species in active restoration forest, Forest and Society, Vol. 4(1): 243-255.
Email: aquilaria.c@gmail.com