จากเมล็ดสู่ต้นไม้

จากเมล็ดสู่ต้นไม้

สายใยแห่งคุณค่าและความร่วมมือเพื่อความยืดหยุ่นในการฟื้นฟูป่า

Language:

โครงการ "Seed to Tree" จะช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูป่าและภูมิทัศน์ในมาเลเซีย โดยเพิ่มคุณภาพและความพร้อมของเมล็ดและต้นกล้าไม้พื้นเมือง ที่มีการปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น โครงการยังวางแผนเพื่อประสานกลุ่มชนเผ่าและชุมชนท้องถิ่น (IPLC) เข้ากับห่วงโซ่คุณค่าของเมล็ด เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอน และการเสริมสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ได้แก่ เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจและการติดตาม การบูรณาการ IPLC ในโครงการฟื้นฟู และความร่วมมือที่เกิดขึ้นใหม่ในห่วงโซ่คุณค่าของการฟื้นฟู โดยที่เครื่องมือต่างๆ เช่น แพลตฟอร์ม "MyFarmTree" จะช่วยส่งเสริมให้สามารถตรวจสอบและรายงานคุณภาพการเก็บเมล็ดต้นไม้ได้

เป้าหมายสูงสุดของโครงการ คือ รัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจะนำเครื่องมือและแนวทางเหล่านี้ไปใช้ในประเทศอาเซียนอย่างน้อยอีก 3 ประเทศ เพื่ออนุรักษ์แหล่งเมล็ดพันธุ์โดยร่วมมือกับ IPLC ความพยายามดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความหลากหลายของสายพันชนิดพันธุ์ไม้ในโครงการฟื้นฟูและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ IPLC มากขึ้น ดังนั้น โครงการนี้จะผลักดันให้มีการกักเก็บคาร์บอนเพิ่มขึ้น เพิ่มมูลค่าการอนุรักษ์ และเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมโยงถิ่นที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ โครงการยังจะสร้างงานและรายได้ให้กับสมาชิก IPLC อย่างน้อย 200 ราย (ซึ่ง 30% เป็นผู้หญิง) ในพื้นที่ 220,000 เฮกตาร์ภายในภูมิทัศน์ที่กว้างใหญ่ของ Central Forest Spine

Malaysians monitoringเจ้าหน้าที่ TRCRC ฝึกปฏิบัติการติดตามการเติบโตของต้นกล้าที่เพิ่งปลูกในแปลงฟื้นฟู ในช่วงระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ FORRU-CMU มิถุนายน 2567โครงการนี้ดำเนินการโดย Alliance of Bioversity International และ CIAT ร่วมกับศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ป่าฝนเขตร้อนของมาเลเซีย (TRCRC: Tropical Rainforest Conservation and Research Center) โดยที่ Alliance มีส่วนสนับสนุนความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยระดับโลก ในขณะที่ TRCRC มุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในท้องถิ่น โดยที่ ASEAN-UK Green Transition Fund เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการ

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีส่วนสนับสนุนโครงการนี้โดยการถ่ายทอดความรู้ทั้งในเรือนเพาะชำและภาคสนาม เกี่ยวกับพรรณไม้ที่พบได้ทั่วไปทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการคัดเลือกชนิดเพื่อการฟื้นฟูป่า ซึ่งโครงการนี้ได้มอบทุนให้แก่ ดร. เกริก ผักกาด ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลพรรณไม้ของหน่วยวิจัยฯ เพื่อตรวจสอบฐานข้อมูลของหน่วยงาน อัปเดตข้อมูลต่างๆ ด้วยการรวบรวมผลการศึกษาล่าสุดจากการทดลองภาคสนามและเรือนเพาะชำ และขยายฐานข้อมูลให้ครอบคลุมถึงลักษณะและการประโยชน์ของพันธุ์ไม้ ในท้ายที่สุดจะมีการจัดทำแอปพลิเคชันการคัดเลือกพันธุ์ไม้ (D4R) สำหรับภาคเหนือของประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยในการจับคู่พันธุ์ไม้กับสภาพพื้นที่/ภูมิทัศน์ ขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของชุมชนท้องถิ่นด้วยAfzaaเจ้าหน้าที่ TRCRC เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ FORRU-CMU 2024 ในภาพกำลังเช็คหมายเลขของต้นไม้ในแปลงทดลองพรรณไม้โครงสร้าง ที่บ้านแม่สาใหม่ ภายหลังการฟื้นฟู 24 ปี