การฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ของช้างในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าสลักพระ ภาคตะวันตกของประเทศไทย

การฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ของช้างในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าสลักพระ ภาคตะวันตกของประเทศไทย

Language:

โครงการริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551-2553 เพื่อสร้างรากฐานความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ท้องถิ่นที่พบในภาคตะวันตกของประเทศไทยและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่าเพื่อสร้างและรองรับถิ่นที่อยู่ให้กับช้างป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Keidanren Nature Conservation Fund กับ Zoological Society of London (ZSL) และหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการในประเทศไทยประกอบด้วย Elephant Conservation Network (ECN) และ Forest Restoration Research Unit (FORRU)

Inspecting elephant dung

ทีม ECN และ FORRU-CMU ลงพื้นที่ตรวจสอบมูลช้าง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ

วัตถุประสงค์:

  • พัฒนาความสามารถในการรองรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่า
  • สำรวจและเก็บข้อมูลชนิดพรรณไม้ในป่าสลักพระ
  • ทดสอบการงอกของเมล็ดและต้นกล้าในเรือนเพาะชำ
  • พัฒนาและจัดการเรือนเพาะชำและแปลงฟื้นฟูป่าร่วมกับชุมชน
  • นำเสนอผลงานให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านการฟื้นฟูป่า

ผลงาน

The ECN project team and stakeholders training in nursery techniques at FORRU-CMU 2009ทีมงานโครงการ ECN และผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมเรือนเพาะชำที่หน่วยวิจัยฟื้นฟูป่าในปี 2552กิจกรรมสุดท้ายของโครงการสิ้นสุดในเดือนกันยายน พ.ศ.2554 คือ การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ป่าไม้และชุมชน โดยมีหัวหน้าชุมชนของแต่ละพื้นที่และเอนจีโอเข้าร่วมเป็นตัวแทนในที่ประชุม ชุมชนนำเสนอคู่มือท้องถิ่นด้านการฟื้นฟูป่าที่ระบุชนิดพรรณไม้และวิธีการเพาะกล้าทั้งในเรือนเพาะชำและดูแลกล้าไม้ในแปลงฟื้นฟู พร้อมนำเสนอวิธีพรรณไม้โครงสร้างที่ช่วยคืนความหลากหลายของป่ากลับคืนมา