การฟื้นฟูสนคิวเพรสซัส ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่

การฟื้นฟูสนคิวเพรสซัส ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่

Language:
Cupressus torulosa plantations

แปลงฟื้นฟูสนสกุลคิวเพรสซัส - มืดและไม่เอื้ออำนวยต่อพืชพื้นถิ่นเจริญเติบโต การตัดแต่งกิ่งบางส่วนก่อนการปลูกพรรณไม้ชนิดอื่นในพื้นที่และปลูกน้อยกว่าร้อยละ30 ก่อนปลูกเสริมเพิ่มเติมช่วยให้พื้นที่กลับคืนสู่ป่าดั่งเดิม

ในปี พ.ศ.2542 หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าร่วมกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยทำงานร่วมกันในการอนุรักษ์สนสกุลคิวเพรสซัส Cupressus torulosa D.Don (Cupressaceae) และคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นปลูกในพื้นที่ดอยปุย พบว่าพื้นที่แปลงฟื้นฟูมีชั้นเรือนยอดปกคลุมอย่างหนาแน่นและมีระบบรากโผล่พ้นเหนือพื้นดินส่งผลให้ไม่มีกล้าธรรมชาติสามารถเจริญเติบโตได้

ในปีเดียวกันนั้นหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าวางแผนปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 4 ไร่ โดยใช้กล้าไม้จากเรือนเพาะชำดอยสุเทพ ปลูกร่วมกับ C. torulosa trees. จำนวนทั้งหมด 240 ต้น 23 ชนิด และติดตามการเจริญเติบโตและการรอดชีวิตจำนวน 5 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2545

อัตราการตายโดยรวมของต้นไม้ที่ปลูกเท่ากับ 41 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ต้นไม้ที่รอดตายเติบโตช้ามาก พรรณไม้เบิกนำ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถรอดตาย ในขณะที่อัตราการรอดตายของพรรณไม้เสถียรอยู่ที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ต้นไม้ส่วนใหญ่ไม่สามารถเติบโตได้สูงกว่า 1 เมตรในระยะเวลา 3 ปี (จากความสูง 30-50 ซม. ณ เวลาปลูก) บ่งบอกได้ว่าต้นไม้ที่ปลูกนั้นขาดแสงและได้รับผลกระทบจากการแข่งขันของระบบราก เนื่องจากความหนาแน่นของชนิด C. torulosa  ซึ่งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งบางส่วนของชนิด C. torulosa ก่อนการปลูกพรรณไม้ชนิดอื่นในพื้นที่

คำแนะนำนี้ถูกนำมาใช้ในปี พ.ศ.2548 โดยมีการคัดเลือกพรรณไม้โครงสร้างจำนวน 200 ต้น ในแปลงที่มีการตัดแต่งกิ่งของชนิด C. torulosa ในขณะที่พรรณไม้อีกจำนวน 200 ต้น ปลูกในแปลงที่ไม่มีการควบคุม และมีการติดตามผลการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของต้นกล้าจำนวน 4 ครั้งในช่วงสามปีหลังจากปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ.2551

อัตราการรอดชีวิตในแปลงที่มีการตัดแต่งกิ่ง (35.61 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าแปลงที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง (17.27 เปอร์เซ็นต์) ถึงแม้ว่าตัวเลขทั้งสองค่าไม่ได้ต่ำมากนัก ยังพบว่าต้นไม้ที่ปลูกในแปลงที่มีการตัดแต่งกิ่งเจริญเติบโตได้ดีกว่าแปลงที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ในส่วนของเส้นวงรอบคอรากและความสูงในแปลงที่มีการตัดแต่งกิ่งมากกว่าแปลงที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งจะต้องตัดแต่งชนิด C. torulosa อย่างน้อย 30 % หรือมากกว่านั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของพรรณไม้โครงสร้างในพื้นที่

แนะนำให้ทำการปลูกต้น C. torulosa ที่ไซต์นี้ (อย่างน้อย 30% หรือสูงกว่า) ให้บาง (อย่างน้อย 30% หรือสูงกว่า) ก่อนดำเนินการปลูกเสริมเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำให้ผอมบางน่าจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของพันธุ์ไม้กรอบที่ปลูกในไซต์นี้ ประสิทธิภาพของพวกมันน่าจะยังต่ำเมื่อเทียบกับการทดลองภาคสนาม FORRU-CMU อื่นๆ ในพื้นที่เปิดโล่งมากขึ้น

สามารถสืบค้นงานวิจัยและรายงานที่เกี่ยวข้องได้ในแถบดาวน์โหลด