FRAME - ป่าไม้, การบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

FRAME - ป่าไม้, การบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Language:

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่งจากทวีปยุโรป (University of Helsinki และ Czech University of Life Science Prague) และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Souphanouvong University และ Savannakhet University ประเทศลาว Kasetsart University และ Chiang Mai University) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโปรแกรมอิราสมุสของสหภาพยุโรป โครงการนี้เป็นการเสริมสร้างความสามารถสำหรับการจัดการป่า และการฟื้นฟูป่าอย่างยั่งยืนในประเทศลาว และประเทศไทยด้วยการสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านป่าไม้ โครงการกำลังพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ด้านการเรียน และการสอน (รวมทั้งการสอนแบบออนไลน์) และการฝึกผู้ให้การศึกษา จุดมุ่งหมายของโครงการเป็นการเพิ่มโอกาสการได้งานทำงานของบัณฑิตด้วยการส่งเสริมการฝึกงาน และการจับคู่เนื้อหาของหลักสูตรให้เข้ากับความต้องการของประเทศ ซึ่งในที่สุด บัณฑิตเหล่านั้นจะสามารถเป็นผู้นำต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมของประเทศในความคิดริเริ่มต่าง ๆ ระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ความตกลงปารีสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ความท้าทายบอนน์ด้านการฟื้นฟูป่า และอื่น ๆ โครงการนี้ยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (สหภาพยุโรป และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันเอง (ประเทศลาว และประเทศไทย)

รายละเอียดของโครงการเพิ่มเติม ดูได้ที่นี่ 

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรปริญาโทด้านวนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งในประเทศลาว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะเดียวกันหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะปรับปรุงวิชาระดับปริญญาตรีที่มีอยู่แล้ว และจะสร้างวิชาระดับปริญญาโทขึ้นใหม่ด้านวิทยาศาสตร์การฟื้นฟูป่า ณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งวิชาแบบออนไลน์ที่มีประกาศนียบัตรรับรองซึ่งเปิดการสอนให้กับบุคคลทั่วไป และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่ามีการปรับปรุงหลักสูตรให้กับนักศึกษาเพื่อให้ประสบการณ์ด้านการทำงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า มอบประสบการณ์และโอกาสให้คนที่มีความสนใจหรือนักศึกษาที่ต้องการฝึกประสบการณ์ร่วมกับเรา ทั้งคนไทยและคนลาว นอกจากนี้เรายังมีสื่อโซเชียลมีเดีย ในการเผนเเพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโปรเจคของเราอีกด้วย มากไปกว่านั้นหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้การฟื้นฟูป่าให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเปิดหลักสูตรปริญาโท โดยหน่วยวิจัยฯให้การสนับสนุนในเรื่องเรือนเพาะชำและการออกภาคสนาม

โครงการสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นการรายงานและประเมินผล

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยวิจัยในโครงการนี้ ติดต่อ ดร. ประสิทธิ์ (ผู้ประสานงานโครงการ)

สำหรับกิจกรรมในโครงการและประกาศอื่นๆโปรดดูบนหน้าเว็บเพจหรือติดต่อเข้าไปที่เฟซบุ๊คเพจ