โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Language:

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

บทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)