โครงการนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อปรับปรุงการจัดการและฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมาร์ หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่าเกาะทูเล ซึ่งจะทำให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานป่าไม้ ได้แก่:-
- การส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับชุมชน
- อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ส่งเสริมบริการเชิงนิเวศ
- ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของคนภายในท้องถิ่น
- ส่งส่งเสริมความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่า
การฟื้นฟูป่าเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูป่าอย่างน้อย 2 ตารางกิโลเมตร ใน 7 อำเภอ ภายในเวลา 5 ปี การฟื้นฟูป่าไม่เพียงแค่ปลูกไม้สักเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นผสมผสานกันอย่างหลากหลาย เพื่อให้เกิดการฟื้นคืนของความหลากหลายทางชีวภาพ และลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การบรรลุเป้าหมายของโครงการขึ้นอยู่กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่ามีทักษะและความรู้ในการจัดการเรือนเพาะชำกล้าไม้ และความสามารถในการตัดสินใจเลือกชนิดพรรณ การออกแบบแปลงปลูก การบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูก การดูแลกล้าไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และการติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นไม้
วัตถุประสงค์อื่นๆ
1. การรวบรวมหลักสูตร - ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น สำหรับบุคลากรป่าไม้ และเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่สนใจเรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่าไม้และการจัดการอย่างยั่งยืน
2. เสริมสร้างความสามารถให้กับชุมชนและครูในท้องถิ่น - ประยุกต์ใช้หลักสูตร โดยจัดอบรมและพัฒนาสื่อการสอน ซึ่งจะมีการวางแผนในระยะที่สองของโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2565
ระยะที่ 1 ของโครงการ เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 มีการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและรวบรวมรายงาน "การประเมินความต้องการ " กำหนดระดับและรูปแบบของการศึกษาที่จำเป็นและเนื้อหาวิชาที่จะรวมไว้ในหลักสูตรที่เสนอ ต่อจากนั้น มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อหารือเกี่ยวกับผลลัพธ์ ทำให้มีการร่างหลักสูตร 2 หลักสูตร ได้แก่ i) หลักสูตร 1 ภาคการศึกษา (18 สัปดาห์) หลักสูตร 3 หน่วยกิตสำหรับ Junior College (JC) และ ii) หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเข้มข้น 10 วัน สำหรับพนักงาน KFD ระดับจูเนียร์ ร่างดังกล่าวได้รับการขัดเกลาและได้รับการอนุมัติในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นสุดท้าย ซึ่งในช่วงนั้นจะมีการระบุความต้องการเพื่อนำไปใช้ในอนาคต
ระยะที่ 2 ประกอบด้วย การพัฒนาคู่มือครูทั้ง 2 หลักสูตรในภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ โดยมีรายละเอียดของโมดูลสำหรับแต่ละหลักสูตร สามารถเข้าถึงได้ผ่านแถบดาวน์โหลดในหน้านี้ หนังสือการ์ตูนที่ถูกทำให้เข้าใจง่ายซึ่งมุ่งเป้าไปที่คนรุ่นใหม่ก็ผลิตเป็นภาษาพม่าเช่นกัน ในท้ายที่สุดได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มช. ในเดือนกรกฎาคม 2566 โดยใช้เวลา 8 วัน เพื่อฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้สื่อการสอน ให้กับ ครูฝึกจาก KFD และครูจาก JC เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำหลักสูตรไปปรับใช้