ความทนแล้งของกล้าไม้ยืนต้นและความสัมพันธ์ของลักษณะเชิงหน้าที่กับการรอดชีวิต ภายใต้การทดลองสภาวะแล้ง
Aisow, R., P. Tiansawat, T. Lattirasuvan & D. Shanon, 2023. Drought tolerance of tree seedlings and relationships of their functional traits and survival under a drought experiment. Thai Journal of Forest Ecology Research 7(1): 93-110.
Contributors
วิกฤติการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยแล้งทำให้โครงการด้านการฟื้นฟูป่าต้องให้ ความสำคัญกับการเลือกชนิดพืชมากขึ้น การขาดนำ้ทำให้กล้าไม้เกิดความเครียด ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการรอดชีวิตหลังปลูก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสามารถในการทนแล้งของ พืชท้องถิ่น 9 ชนิดในสภาพโรงเรือนที่มีการควบคุมและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเชิงหน้าที่ 10 ลักษณะกับความสามารถดังกล่าว มีการนำกล้าไม้ของพืชท้องถิ่นป่าผลัดใบจำนวน 9 ชนิด มาทดสอบภายใต้สภาพควบคุมในโรงเรือนเป็นเวลา 4 เดือน พบว่ามะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) และ งิ้ว (Bombax ceiba) เป็น ชนิดที่รอดชีวิตได้นานที่สุดในสภาพที่ไม่ได้รับน้ำ จากการศึกษาลักษณะเชิงหน้าที่จำนวน 10 ลักษณะทำให้จัดกลุ่มพืชได้ 4 กลุ่ม มะค่าโมงและงิ้วจัดอยู่ในกลุ่มที่มีคุณลักษณะเชิงหน้าที่ด้านความหนาแน่นของเนื้อเยื่อและ รากเด่นตามลำดับ ทั้งนี้ ในงานวิจัยนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเชิงหน้าที่กับระยะเวลาที่พืชรอดชีวิต การศึกษาลักษณะเชิงหน้าที่เพิ่มเติมในแต่ละระยะของการเจริญเติบโตของพืชที่อยู่ท้้งในสภาพแปลงฟื้นฟู และสภาพควบคุมจะส่งเสริมความเข้าใจในการเลือกชนิดที่เหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูป่าท่ามกลางสภาวการณ์ ความไม่แน่นอนด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ