การใช้ลักษณะกล้าไม้ยืนต้นผลัดใบเขตร้อนบ่งชี้ความทนทานต่อภาวะแห้งแล้ง
Aisow, R., 2023. Using Traits of Tropical Deciduous Tree Seedlings to Determine Drought Tolerance. MSc Thesis. Chiang Mai University Graduate School
ความแห้งแล้งเป็นหนึ่งในความท้าทายของการฟื้นฟูป่าในปัจจุบัน ความเครียดจากความแห้ง แล้งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชและการรอดชีวิตหลังปลูก การศึกษาคุณลักษณะเชิง หน้าที่ของพืชมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการคัดเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูภายใต้ สภาพแวดล้อมที่รุนแรง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรอดชีวิตของ กล้าไม้ในแปลงฟื้นฟู 2) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทนแล้งของกล้าไม้ภายใต้สภาวะ ทดลอง และ 3) ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเชิงหน้าที่กับการรอดชีวิตของกล้าไม้ในแปลง ฟื้นฟู พืชที่ศึกษาเป็นไม้ท้องถิ่นของป่าผลัดใบจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) งิ้ว (Bombax ceiba) ปุย (Careya arborea) ยมหิน (Chukrasia tabularis) ซ้อ (Gmelina arborea) กระบก (Irvingia malayana) เพกา (Oroxylum indicum) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) และมะกอก (Spondias pinnata) จากการติดตามผลในแปลงฟื้นฟูพบว่าการรอดชีวิตของกล้าไม้ (อายุ 1 ปี หลังการปลูก) ได้รับอิทธิพลจากพื้นที่ปลูกและชนิดของพืช กล้าไม้ที่มีร้อยละการรอดชีวิตสูงสุด 5 ลำดับ ในแปลงพื้นฟู คือ ปุย มะกอก มะขามป้อม งิ้ว และ ซ้อ กล้าไม้ที่ศึกษาทั้งหมด 9 ชนิด ชนิดละ 42 ต้น ถูกนำมาศึกษาความสามารถในการทนแล้งในสภาพทดลอง แบ่งกล้าไม้เป็นชุดทดลองแบบรดน้ำและไม่รดน้ำโดยวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ ประเมินความเหี่ยวเฉา โดยการให้คะแนนระดับ 0-5 ทุก 2 วัน ในช่วง 36 วันแรก และทุก 2 สัปดาห์จนครบ 120 วัน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสิ้นสุดการ ทดลองมะค่าโมงและงิ้วเป็นพืชสองชนิดที่ลำต้นเหนือดินยังมีชีวิตอยู่ (คะแนนความเหี่ยวเฉาระดับ 4) ใบแสดงการตอบสนองต่อความแห้งแล้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ของการทนความแห้งแล้ง การศึกษาคุณลักษณะเชิงหน้าที่ของพืชทุกชนิดในระยะกล้าไม้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางใบ ราก และลำต้น รวมทั้งหมด 13 คุณลักษณะ ผลการวิเคราะห์ร่วมกับการรอดชีวิตของกล้าไม้ทั้งใน สภาพแปลงฟื้นฟูและสภาพเรือนเพาะชำพบว่าสามารถจัดกลุ่มพืชได้ 4 กลุ่ม ตามคุณลักษณะเชิง หน้าที่ที่โดดเด่น กล้าไม้ชนิดที่มีร้อยละการรอดชีวิตสูงในแปลงฟื้นฟู ส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มี คุณลักษณะด้านรากเด่น คือ สัดส่วนใต้ดินต่อส่วนเหนือดิน ความยาวราก และความยาวรากต่อ น้ำหนักแห้งราก คุณลักษณะดังกล่าวช่วยให้กล้าไม้มีความสามารถในการดูดซึมน้ำ และมี ความสามารถในการแข่งขันสูง การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเชิงหน้าที่ของพืช ในระยะต้นกล้ากับร้อยละการรอดชีวิตในแปลงฟื้นฟู คุณลักษณะเชิงหน้าที่ด้านรากอาจนำไปปรับใช้ เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกชนิดพืชสำหรับการฟื้นฟูป่าในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยแล้ง ทั้งนี้ความสามารถใน การทนแล้งอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียวของการฟื้นฟูป่า ผู้ปฏิบัติด้านการฟื้นฟู ควรพิจารณาที่มาของเมล็ดและคุณภาพของกล้าไม้ ขั้นตอนการเตรียมกล้าและการปลูก การดูแลรักษา หลังปลูก รวมถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกด้วย