FORRU
ห้องสมุด

ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อชีพลักษณ์ของพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือประเทศไทย

Language:
The Impact of Climate Change on Tree Phenology for Forest Restoration in Northern Thailand
Date:
2020-04-09
Author(s):
Nutchanok Kumsut
Publisher:
Chiangmai University
Serial Number:
273
Suggested Citation:

Kumsut, N. 2023. The Impact of Climate Change on Tree Phenology for Forest Restoration in Northern Thailand. BSc special project, Chiangmai University

บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพ อาทิเช่นอุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน และความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งส่งผลให้ต้นไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการเจริญ เติบโตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งการศึกษาชีพลักษณ์ของต้นไม้สามารถบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ โดยทาการศึกษาชีพลักษณ์ของต้นไม้ 9 ชนิดพันธุ์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ระยะเวลา 12 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และทาการเปรียบเทียบข้อมูลชีพลักษณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2541กับปี พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563 พบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีพลักษณ์การสืบพันธุ์ของต้นไม้ 5 ชนิดพันธุ์ 1) มะไฟ (Baccaurea ramiflora Lour.) 2) เติม (Bischofia javanica Blume) 3) ดีหมี (Cleidion spiciflorum (Burm.f.) Merr.) 4) จาปีป่า (Michelia baillonii (Pierre) Finet & Gagnep 5) หม่อนหลวง (Morus macrou- ra Miq.)

ซึ่งจากผลการศึกษาปัจจัยทางกายภาพระหว่างปี พ.ศ. 2537-พ.ศ .2541กับ พ.ศ. 2558-พ.ศ.2562 พบว่าปัจจัยทางกายภาพ 2 ปัจจัย คืออุณหภูมิเฉลี่ย (°C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทดสอบด้วยวิธีการทดสอบ Paired sample t-Test