FORRU
ห้องสมุด

การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Language:
การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง
Date:
2017-11
Author(s):
Jantawong, K.
Publisher:
The Graduate School, Chiang Mai University.
Serial Number:
256
Suggested Citation:

Jantawong, K.. 2017. Determination of aboveground carbon sequestration in restored forest by framework species method. PhD thesis, The Graduate School, Chiang Mai University.

บทคัดย่อ: การทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งสะสมคาร์บอนบนบกลดลงและส่งผลถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตร้อนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว แต่การวัดปริมาณว่าคาร์บอนที่ถูกดูดซับโดยพื้นที่ป่าที่เกิดจากการฟื้นฟูป่ายังมีน้อย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้ซึ่งได้มีการทดลองใช้วิธี Partial Harvest Method ในการเก็บข้อมูลปริมาตรต้นไม้ และมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน กลุ่มตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่ทำการศึกษาประกอบด้วยพันธุ์ไม้โครงสร้าง 11 ชนิดในแปลงฟื้นฟูป่าอายุ 5 10 และ 14 ปี (R5, R10 และ R14 ตามลำดับ) เพื่อหาชนิดที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มปริมาณการสะสมคาร์บอนในการฟื้นฟูป่า ปริมาณคาร์บอนที่สะสมเหนือพื้นดินคำนวณโดยใช้ค่าความหนาแน่นเนื้อไม้ ปริมาตรต้นไม้ และมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเปอร์เซ็นต์คาร์บอนต่อมวลชีวภาพที่สะสมในเนื้อไม้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างอายุต้นไม้ และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างชนิดต้นไม้ โดยพบว่ามีค่าเฉลี่ยของทุกชนิดที่ 44.67% (±0.54) ของมวลชีวภาพ ในแปลง R14 พบว่า ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) มีการเจริญเติบโตมากกว่าชนิดอื่นๆและสะสมปริมาณคาร์บอนเหนือพื้นดินมากกว่าชนิดอื่นๆ คือ 135.23 kgC/ต้น เมื่อเฉลี่ยค่าการสะสมคาร์บอนเหนือดินต่อต้นของทุกชนิด พบว่าในแปลง R5 R10 และ R14 มีค่าการสะสม 9.4, 29.0 และ 48.8 kgC/ต้น ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนเหนือดินที่สะสมในพื้นที่ต่อเฮคแตร์ พบว่า ป่าธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียงกับแปลงฟื้นฟูป่ามีค่าการสะสมคาร์บอนเหนือดินมากที่สุด คือ 181.5 เหนือพื้นดิน 124.1 และ 105.9 tC/ha ตามลําดับ จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณคาร์บอนเหนือดินที่ สะสมในพื้นที่ป่าที่ฟื้นฟูด้วยวิธีการพันธุ์ไม้ โครงสร้าง จะมีปริมาณเทียบเท่ากับป่าธรรมชาติภายใน 16-17 ปี

นอกจากนี้การเลือกชนิดพันธุ์ไม้ สำหรับฟื้นฟูป่ายังควรคำนึงถึงความสามารถในการดูดซับคาร์บอนอีกด้วย การศึกษาครั้งนี้ทำ การทดสอบความสามารถในการดูดซับคาร์บอนโดยใช้พันธุ์ ไม้โครงสร้างจำนวน 8 ชนิดเพื่อเปรียบเทียบกันโดยใช้เครื่อง LICOR รุ่น Li-6400 ทดสอบในระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เทียบเท่ากับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปัจจุบันโดยทดสอบในระดับความเข้มแสงที่ต่างกันโดยพบว่า ซ้อ (Gmelina arborea) มีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงสุดคือ 56.2 ± 15.2 μmol CO2/m2/s ผลการศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสงในระดับใบ จะนำมาคำนวณให้เป็นการสังเคราะห์แสงในระดับเรือนยอดของต้นไม้ และเปรียบเทียบกับผลจากการเก็บข้อมูลในภาคสนาม อย่างไรก็ตาม พบว่าการคำนวณให้ผลการประเมินที่มากเกินความเป็นจริงอันเป็นผลมาจากการขาดข้อมูลบางอย่างที่จำ เป็นในการคำนวณ เช่น การบดบังแสงอันเนื่องมาจากปัจจัยเมฆ

ผลปริมาณคาร์บอนเหนือดินที่สะสมในพื้นที่ป่าฟื้นฟูด้วยวิธีพันธุ์ไม้โครงสร้างจากการศึกษา ในครั้งนี้รวมกับปริมาณคาร์บอนใต้ดินในพื้นที่การศึกษาเดียวกัน(ข้อมูลทุติยภูมิ) ถูกนำ มาประเมิน ในประเด็นของการซื้อขายคาร์บอนในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (voluntary market) พบว่าในปีที่ 14 ของการฟื้นฟู ทั้งคาร์บอนเหนือดินและใต้ดินจะสามารถสร้างรายได้ มากถึง 11,308.4 US$/ha หรือ มีรายได้เฉลี่ยจากปีแรกถึงปีที่ 14 คือ 255.5 US$/ha จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพันธุ์ไม้โครงสร้างสามารถสะสมปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ในเวลาที่รวดเร็ว นอกจากส่งเสริมการสะสมคาร์บอนแล้ววิธีพันธุ์ไม้ โครงสร้างยังช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบป่าสามารถพึ่งพิงผลผลิตจากป่าและได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญของโครงการ REDD+ อันจะช่วยให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน