พันธุ์ไม้อันทรงคุณค่าของเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนภายใต้การถูกคุกคาม
Gaisberger, H., Fremout, T., Kettle, C. J., Vinceti, B., Kemalasari, D., Kanchanarak, T., Thomas, E., Serra-Diaz, J. M., Svenning, J.-C., Slik, F., Eiadthong, W., Palanisamy, K., Ravikanth, G., Bodos, V., Sang, J.,Warrier, R. R.,Wee, A. K. S., Elloran, C., Ramos, L. T.,…Jalonen, R. (2022). Tropical and subtropical Asia’s valued tree species under threat. Conservation Biology, e13873. https://doi.org/10.1111/cobi.13873
Contributors
ความหลากหลายของต้นไม้ในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชียเป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหาโดยอิงธรรมชาติ ความเข้าใจต่อชนิดพันธุ์ที่มีความเปราะบางต่อการคุกคามหลายรูปแบบซึ่งส่งผลต่อการให้บริการทางระบบนิเวศของชนิดพันธุ์เหล่านั้นยังมีน้อย ในที่นี้เราได้ทำการประเมินความเปราะบางของต้นไม้ 63 ชนิด ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วทั้งภูมิภาค ต่อการใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป ไฟไหม้ การถูกกินที่มากเกินไป การเปลี่ยนแปลงพื้นที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำการคัดเลือกต้นไม้สำหรับการประเมินจากลำดับความสำคัญระดับชาติ และการคัดเลือกนี้ได้รับการตรวจสอบโดยเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญจาก 20 ประเทศ เราได้ใช้ Maxent suitability modeling เพื่อทำนายช่วงการกระจายของชนิดพันธุ์ ชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เข้าถึงได้ฟรีเพื่อสร้างแผนที่ความเสี่ยง รวมไปถึงลักษณะของต้นไม้เพื่อประเมินความอ่อนไหวต่อภัยคุกคาม แผนที่ความเปราะบางเฉพาะชนิดถูกสร้างขึ้นจากแผนที่ความเสี่ยงและการประมาณความเปราะบางของชนิด จากความเสี่ยงต่อภัยคุกคามในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราได้พิจารณาถึงพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ซึ่งพบว่า 74% ของพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับการอนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้อยู่นอกพื้นที่คุ้มครอง และทุกชนิดถูกคุกคามอย่างรุนแรง โดยเฉลี่ยราว 47% ของถิ่นที่อยู่เดิม ภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามามากที่สุด คือ การใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปและการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย ประชากรถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากปัจจัยเหล่านี้โดยเฉลี่ย 24% และ 16% ของช่วงตามลำดับ แม้ว่าการศึกษาในบางชนิดอาจสูญเสียที่อยู่อาศัยมากกว่า 15% ภายในปี 2050 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่แบบจำลองของเราได้ทำนายผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมที่ถูกจำกัด เรายังได้ทำการระบุพื้นที่ธรรมชาติที่จำเพาะในป่าฝนบนเกาะบอร์เนียวให้เป็นฮอตสปอตสำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมของป่าภายในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ กว่า 82% ของพื้นที่ทั้งหมดอยู่นอกพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง นอกจากนี้เรายังจัดให้พื้นที่เสื่อมโทรมใน Western Ghats ป่าแล้งในอินโดจีน และป่าฝนสุมาตราเป็นจุดฮอตสปอตสำหรับการฟื้นฟูป่า ซึ่งการปลูกหรือการช่วยเพื่อเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติจะช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เหล่านี้ และพื้นที่เพาะปลูกทางตอนใต้ของอินเดีย รวมไปถึงประเทศไทยยังเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญสำหรับการทำวนเกษตรอีกด้วย ผลการศึกษาของเราเน้นถึงความจำเป็นในการดำเนินการประสานงานระดับภูมิภาคเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ