FORRU
ห้องสมุด

ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับคืนของชนิดไม้ยืนต้นในพื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย

Language:
Factors affecting the recruitment of tree species in restored tropical forest, Chiang Mai province, Thailand
Date:
2018
Author(s):
Ratanapongsai, Y.
Publisher:
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number:
236
Suggested Citation:

Ratanapongsai, Y., 2018. Factors Affecting the Recruitment of Tree Species in Restored Tropical Forest, Chiang Mai Province, Thailand. PhD Thesis, Chiang Mai University Graduate School

บทนนำ: FORRU-CMU ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง (FWS) เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537 เทคนิคการส่งเสริมกระบวนการการฟื้นตัวของป่าธรรมชาติ โดยการเลือกชนิดของต้นไม้ที่ดึงดูดสัตว์ผู้กระจายเมล็ด และสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการงอกของเมล็ดและการตั้งตัวของต้นกล้าที่เข้ามาในพื้นที่ รายงานการวิจัยนี้ จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการดังกล่าว ต่อการเกิดใหม่ของต้นกล้าไม้ท้องถิ่น โดยการสำรวจแปลงที่ปลูกโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง ที่บ้านแม่สาใหม่ (BMSM) พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยแปลงปลูกที่มีอายุต่างกัน 3 ช่วง: 6, 10 และ 14 ปี นับตั้งแต่เริ่มกิจกรรมการฟื้นฟู (อักษรย่อ R6, R10 และ R14) เปรียบเทียบกับพื้นที่ฟื้นฟูตามธรรมชาติอายุ 14 ปี (พื้นที่ควบคุม) และพื้นที่ป่าธรรมชาติเดิมที่หลงเหลืออยู่ (DSF) มีการสำรวจต้นกล้าของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและต้นไม้ใหญ่อย่างเป็นระบบ ดัชนีพื้นที่ใบ (leaf area index: LAI) global site factor (GSF) และความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน (FC) ได้ถูกการประเมินเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการเกิดใหม่และอัตราการตายของต้นกล้า การศึกษาพบว่า 51% ของต้นไม้ใหญ่ทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณแปลง (รวมทั้งพรรณไม้โครงสร้าง) ประสบความสำเร็จในการเกิดใหม่เป็นต้นกล้าในทุก ๆ แปลงฟื้นฟู ปัจจัยจำกัดที่สำคัญคือการเป็นชนิดที่พบยากในพื้นที่รอบข้าง ขนาดเมล็ด รูปแบบการกระจายเมล็ด และ successional status ของพันธุ์ไม้ไม่ได้มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการเกิดใหม่ ช่วง 6-14 ปีหลังการฟื้นฟู ความหลากหลายของชนิดที่เกิดใหม่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งมีความใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ (DSF) ต้นกล้าที่เกิดจากสัตว์ผู้กระจายเมล็ดพบได้บ่อยกว่าและมีอัตราการเกิดใหม่ที่สูงในทุกแปลงฟื้นฟู อัตราการเกิดใหม่ของต้นกล้าที่ไม่ใช่ไม้เบิกนำมีความคล้ายครึงกันในแปลงปลูกทั้ง 3 ช่วงอายุ ในขณะที่อัตราการตายของไม้เบิกนำในแปลง R6 ต่ำกว่าในแปลง R10-14 หลังจาก 6 ปีของการฟื้นฟู ความหนาแน่นและความเด่นในด้านพื้นที่หน้าตัด (BA) ของพรรณไม้โครงสร้างที่ปลูกนั้นสูงกว่าต้นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในแปลง DSF นอกจากนี้ ความหนาแน่ของเรือนยอดป่าของต้นไม้ที่เป็นพรรณไม้โครงสร้างส่งผลให้ระดับแสงที่ส่องถึงพื้นในแปลงปลูกลดลงในระดับที่คล้ายกับแปลงธรรมชาติ DSF อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการกักเก็บความชื้นในดิน (เปอร์เซ็นต์ความชื้นที่ดินสามารถรองรับได้ FC) ของแปลงฟื้นฟู R ทั้งหมดต่ำกว่าแปลงของป่าธรรมชาติ DSF ทั้ง BA ของต้นไม้และสภาพแสงมีผลต่ออัตราการเกิดใหม่และการตายของทั้งต้นกล้าที่เป็นไม้เบิกนำและไม่ใช่ไม้เบิกนำ LAI และ BA ที่ต่ำของต้นไม้ชั้นพื้นล่างในพื้นที่ฟื้นฟู ช่วยส่งเสริมการเกิดใหม่ของต้นกล้าที่ไม่ใช่ไม้เบิกนำ ในขณะที่ GSF ต่ำและ BA สูงของต้นไม้ชั้นเรือนยอด จะลดการเกิดใหม่ของกล้าไม้เบิกนำ สภาวะใน R6 เอื้อต่อการตั้งตัวของไม้เบิกนำได้มากกว่าการเกิดในแปลงที่อายุมากกว่า โครงสร้างป่าของการฟื้นตัวตามธรรมชาติในแปลงควบคุม (หลังจาก 14 ปี) พัฒนาได้ไม่ดี ต้นไม้ชนิดที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ล้มเหลวในการเกิดใหม่ในแปลงควบคุม บริเวณแนวขอบของแปลงควบคุม R14 มีสภาพที่ดีกว่าสำหรับการตั้งตัวของเมล็ด

เทคนิค FWS ช่วยเร่งการฟื้นตัวของพื้นที่ป่าและการเกิดใหม่ของพรรณไม้ท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับ DSF และแปลงควบคุม ซึ่งเป็นการฟื้นตัวตามธรรมชาติ พรรณไม้โครงสร้างได้รับการพัฒนาอย่างดี ให้ที่ร่มรื่นสำหรับการตั้งตัวของกล้าไม้ และส่งเสริมการฟื้นตัวของพื้นที่อยู่อาศัยเกินขอบเขตของแปลง อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FC ของดิน เนื่องจากการฟื้นตัวหลังจาก 14 ปีเป็นไปอย่างช้ากว่าที่คาดการณ์ ควรมีการนำพรรณไม้ท้องถิ่นที่หายไปจากพื้นที่หรือเป็นชนิดที่หายากในบริเวณภูมิประเทศโดยรอบมารวมไว้ในการปลูกแบบ FWS เพื่อเพิ่มความหลากหลาย เนื่องจากพรรณไม้เหล่านั้นไม่สามารถเกิดเองได้โดยธรรมชาติ การผสมผสานวิธีการฟื้นฟูที่หลากหลายวิธีอาจช่วยให้นักวิจัยเอาชนะข้อจำกัดของพื้นที่และเร่งการฟื้นตัวของป่าในภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ขึ้น