การใช้พรรณไม้โครงสร้างในการฟื้นฟูป่า : การใช้คุณลักษณะการทำงานของพืชเพื่อทำนายประสิทธิภาพของชนิดพรรณ
Betts, H., 2013. The Framework Species Approach to Forest Restoration: Using Functional Traits as Predictors of Species Performance. PhD thesis, University of Liverpool.
บทนำ: เนื่องด้วยความเสื่อมโทรมและการสูญเสียป่าไม้ การใช้เทคนิคการฟื้นฟูระบบนิเวศเป็นที่สนใจเป็นพิเศษในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนึ่งในหลักการคือการใช้พรรณไม้โครงสร้างในการฟื้นฟูป่าที่ถูกพัฒนาในรัฐคลีนแลนส์ ออสเตรเลีย ซึ่งการใช้พรรณไม้โครงสร้างเกี่ยวข้องกับการเลือกพรรณไม้ทิ้งท้องถิ่นจำนวน 30 ชนิดที่โตเร็วและโตช้าและเป็นชนิดพรรณไม้ที่สามารถอยู่รอดในสภาวะแห้งแล้งพร้อมทั้งมีคุณลักษณะ ไดแก่ (1) เจริญเติบโตเร็วและมีทรงพุ่มขนาดใหญ่ป้องกันวัชพืชและลดโอกาสการเกิดไฟป่า (2) ติดดอกออกผลในช่วงอายุขัยที่สั้นเพื่อดึงดูดสัตว์กระจายเมล็ดและกระจายเมล็ดไปยังพื้นที่เสื่อมโทรมต่างๆ วิธีพรรณไม้โครงสร้างถูกเริ่มใช้ในโครงการฟื้นฟูป่าร่วมกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าเป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาประสิทธิภาพของชนิดพรรณไม้ที่เหมาะสมในเรือนเพาะชำและศึกษางานภาคสนามเพื่อหาชนิดพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูป่า อย่างไรก็ตามการศึกษาที่ผ่านมาใช้ระยะเวลาและแรงงานจำนวนมาก มีการแนะนำว่าการทดลองดังกล่าวอาจลดลงโดยการคัดเลือกชนิดพันธุ์ล่วงหน้าโดยใช้ลักษณะการทำงานเป็นตัวทำนายประสิทธิภาพในอนาคต ได้แก่ เมล็ด ใบ และเปลือกไม้ ถูกใช้วิเคราะห์เทียบกับการคาดการณ์จากแบบจำลองทางนิเวศวิทยา และแนวคิดดั้งเดิมเพื่อประเมินขอบเขตกลยุทธ์ทางนิเวศวิทยาโดยใช้พรรณไม้ในป่าเขตร้อนทางตอนเหนือของประเทศไทย พบว่าพฤติกรรมการเก็บเมล็ดมีความเชื่อมโยงกับลักษณะการทำงานอื่นๆ และเป็นพื้นฐานของความแตกต่างของประสิทธิภาพตามขนาดของเมล็ด สรุปได้ว่าลักษณะการทำงานของพืชเป็นตัวบ่งชี้ที่มีคุณค่าในการดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าไม้