การเจริญเติบโตและรอดชีวิตของพรรรณไม้ท้องถิ่นบนพื้นที่เสื่อมโทรมเนินเขาในฮ่องกง
Hau, C.H. 1999. The establishment and survival of native trees on degraded hillsides in Hong Kong. Dissertation. University of Hong Kong, Pokfulam, Hong Kong SAR. http://dx.doi.org/10.5353/th_b2979961
บทคัดย่อ: การทำลายของป่าไม้และความเสื่อมโทรมทางพื้นที่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน สูญเสียความความหลากหลายทางชีวภาพของโลกอย่างมหาศาล เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนอันดับที่ 5 และยังส่งผลกระทบต่อการสูญเสียสินค้าและบริการของมนุษย์ที่ใกล้แหล่งป่า พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นในประเทศจีนถูกทำลายและเหลือเพียงพื้นที่ป่าขนาดเล็กที่ยังหลงเหลือในฮ่องกงทำให้การฟื้นฟูป่าเขตร้อนและเขตอบอุ่นจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวตามธรรมชาติและการฟื้นฟูป่าในทุ่งหญ้าที่เสื่อมโทรมโดยปิดกั้นจากอุปสรรคต่างๆที่พบในป่าเสื่อมโทรมเชิงเขา เช่น สัตว์กระจายเมล็ดมีจำนวนน้อย สัตว์ทำลายเมล็ดมีจำนวนมาก การเพาะของเมล็ดไม้ต่ำ อัตราการรอดชีวิตและเจริญเติบโตของต้นกล้าต่ำ เป็นต้น ทั้งนี้ได้มีการติดตั้งกับดักเมล็ดในทุ่งหญ้าระยะเวลา 1 ปี พบว่ามีจำนวนเมล็ดมากถึง 12,600 เมล็ด ประกอบด้วย 35 ชนิดไม้มีเปลือก และ 94 เปอร์เซ็นต์ มาจากนกที่เข้ามาเกาะอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ เมล็ดที่ถูกกระจายพบเพียง 0.2 เมล็ดต่อเมตรต่อปี เมล็กที่เป็นชนิดไม้มีเปลือกได้มาจากสัตว์กระจายเมล็ดแต่ยังพบว่ามีการกระจายเมล็ดโดยลมด้วยเช่นกัน เมล็ดพรรณไม้ทั้งหมด 16 ชนิด ในพื้นที่ทุ่งหญ้าและพื้นที่ที่มีไม้พุ่มเป็นส่วนใหญ่มีอัตราการถูกล่าประมาณ 6.5 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 60 วัน โดยที่มี 11 ชนิดที่มีอัตราการถูกล่าถึง 100 เปอร์เซ็นต์
ในงานวิจัยในจัดทำการทดลองวางกับดักเพื่อสำรวจจำนวนสัตว์ทำลายเมล็ดโดยพบเพียงหนูสองชนิดที่เป็นตัวกระจายเมล็ดขนาดเล็กด้วย โดยปกติการทำลายเมล็ดไม่ขึ้้นอยู่กับขนาดเมล็ดแต่ขึ้นอยู่กับความหนาของการเคลือบเมล็ด พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของเมล็ดที่เพาะไว้ในกรงปิดเจริญเติบโตช้ากว่าเมล็ดที่การเพาะไว้ในเรือนเพาะชำปกติ โดยมีข้อเสนอแนะว่ามีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ด จากการศึกษาพบว่าการกระจายเมล็ด การทำลายเมล็ด และการเจริญเติบโตของเมล็ดจำกัดอัตราความหลากหลายของพืชที่มีเปลือก ทดสอบด้วยการหาความแปรแปรวนสี่ทางเพื่อใช้หาผลกระทบของชนิด ยาฆ่าแมลง ฤดูกาลที่ขาดน้ำ การควบคุมวัชพืช โดยที่ไม่ผลการทดลองอันใดที่ให้ผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญในการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในสองปี โดยที่ปริมาณธาตุอาหารในดิน ฤดูแล้ง และการแย่งชิงของวัชพืชไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต นอกจากนั้นพืชจำนวน 10 ชนิด ถูกปลูกในพื้นที่โดยไม่ได้ทำการทดลองพบว่าอัตราการรอดชีวิตของสูงขึ้นจำนวน 9 ชนิด อย่างไรก็ตามการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการปลูกมีต้นทุนด้านแรงงานที่ค่อนข้างสูง การผลักดันวิธีการฟื้นฟูด้วยการกระจายเมล็ดพันธุ์จากสัตว์ การหยอดเมล็ด หรือการควบคุมสัตว์ทำลายเมล็ดอาจเป็นอีกทางเลือกในด้านค่าใช้จ่าย แต่ควรระมัดระวังในการเพาะชำในเรือนเพาะชำและการปลูกในแปลงเพื่อลดอัตราการตายและทดแทนพรรณไม้ต่างถิ่น