FORRU
ห้องสมุด

ประสิทธิภาพของไฮโดรซีดดิงในพืชสกุลมะเดื่อเพื่อการฟื้นฟูป่าในเหมืองหินปูนที่สิ้นสุดกิจกรรม

Language:
Efficacy of Ficus Hydroseeding for Forest Restoration in an Abandoned Limestone Quarry
Date:
2014-05
Author(s):
Khokthong, W.
Publisher:
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number:
198
Suggested Citation:

Khokthong, W., 2014. Efficacy of Ficus Hydroseeding for Forest Restoration in an Abandoned Limestone Quarry. MSc thesis. The Graduate School, Chiang Mai University.

บทคัดย่อ: การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เหมืองหินปูนนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากเนื่องจากเหมืองหินปูนเป็นบริเวณที่ถูกทำลายจนเหลือแต่บริเวณหน้าผาหินที่ปราศจากหน้าดินปกคลุม พืชในสกุลมะเดื่อและ ไทร (Ficus spp.) สามารถพบเห็นได้ในหลายหลายพื้นที่ตั้งแต่บริเวณริมน้ำไปจนถึงพื้นที่สูงชันและพืชในสกุลนี้สามารถอยู่รอดได้ในสภาพของหินปูน การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นเพื่อใช้พืชสกุลมะเดื่อและไทรร่วมกับเทคนิคไฮโดรซีดดิงในพื้นที่ของเหมืองปูนบริษัทปูนซีเมนต์ไทยลำปาง จำกัด โดยเมล็ด ของ Ficus benjamina, F. hispida และ F. semicordata ถูกนำมาทดสอบกับไฮโดรเจลที่มี Sodium Carboxymethyl Cellulose (NaCMC) ผสมกับแป้งข้าวโพดหรือวุ้นในหลายอัตราส่วน

ไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของ NaCMC (0.1% w/v) ตั้งแต่สัดส่วน 0, 25, 50, 75 และ 100% v/v และถูกแทนด้วยสัดส่วนของวุ้น (0.45% w/v) หรือแป้งข้าวโพด (5% w/v) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ พบว่าค่าความเป็นกรดด่างของไฮโดรเจลไม่แตกต่างทางสถิติ (pH 5.82 ถึง 6.08, ANOVA, p < 0.05) โดยไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของแป้งข้าวโพดจะมีค่าความหนืดมากที่สุดและแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) แต่ไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของวุ้นมากขึ้นจะทำให้ความหนืดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อัตราส่วนของ NaCMC ที่สูงขึ้นจะเพิ่มปริมาณน้ำในไฮโดรเจลและสัดส่วนการดูดซึมน้ำกลับ อีกทั้งการเพิ่มอัตราส่วนของแป้งข้าวโพดยังทำให้ปริมาณน้ำ สัดส่วนการดูดซึมน้ำกลับและการแพร่ผ่านของไอน้ำผ่านไฮโดรเจลมีค่ามากกว่าไฮโดรเจลที่มีวุ้นใน อัตราส่วนที่เท่ากัน ส่วนผสมระหว่าง NaCMC กับวุ้นไม่มีความแตกต่างของการแพร่ผ่านของไอน้ำ ผ่านไฮโดรเจล หากเพิ่มอัตราส่วนของแป้งข้าวโพดทำให้การแพร่ผ่านของไอน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อีกทั้งยังพบว่าในสภาวะความชื้นสัมพัทธ์สูง ไฮโดรเจลที่มี NaCMC และวันจะมีค่าการดูดความชื้นมากกว่าแป้งข้าวโพดและ GAB model สามารถคำนวณค่าปริมาณ ความชื้นที่จุดสมดุล (Mo) ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.573 ถึง 0.998 g/g

การทดสอบการงอกของมะเดื่อและไทรในจานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพบว่าอัตราส่วนของ NaCMC ที่สูงจะยับยั้งการงอก โดยค่าร้อยละการงอกในไฮโดรเจลแต่ละชนิดมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยชุดควบคุมซึ่งไม่ใช้ไฮโดรเจลจะมีค่าร้อยละการงอกสูงที่สุดในการทดลองวันที่ 10

การทดลองเทคนิคไฮโดรซีดดึงในเรือนเพาะชำจะใช้หลอดฉีดยาสำหรับบรรจุเมล็ดมะเดื่อและไทรร่วมกับไฮโดรเจลแต่ละชนิด ทำการฉีดพ่นส่วนผสมทั้งหมดไปยังผิวหน้าของดินที่เก็บตัวอย่างมา จากเหมืองหินปูน ผลของชนิดไฮโดรเจลไม่มีความแตกต่างทางสถิติในค่าร้อยละของการงอก ค่ากลางการพักตัวของเมล็ดหรือ MLD และร้อยละของการอยู่รอด (p < 0 ≤ 0.05) แต่พบว่าชนิดของมะเดื่อและไทร ส่งผลต่อความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ต่อค่าร้อยละการงอก MLD และร้อยละการอยู่รอด (F. benjamina ต่ำกว่า F. hispida และ F. semicordata)

ไฮโดรเจลส่วนผสมระหว่าง NaCMC กับวุ้นหรือแป้ง (50:50) ถูกคัดเลือกเพื่อนำมาทดสอบ ด้วยเทคนิคไฮโดรซีดดิงกับเมล็ดมะเดื่อและไทร ในพื้นที่ลาดเอียงของเหมืองหินปูน โดยเริ่มทำการทดลองที่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝนในปี 2556 พบว่าร้อยละของการงอกและการอยู่รอดในทุกชุดการทดลองมีค่าต่ำ ดังนั้นไฮโดรเจลที่ใช้ในการทดลองจึงยังไม่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้กับเมล็ดพืชสกุลมะเดื่อและไทร ในเทคนิคโฮโดรซีดดิง RSITY