ผลของคุณลักษณะเมล็ดต่อความสำเร็จของการหยอดเมล็ดโดยตรงสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าดิบที่ราบต่ำภาคใต้ของประเทศไทย
Tunjai, P. & S. Elliott, 2012. Effects of seed traits on the success of direct seeding for restoring southern Thailand’s lowland evergreen forest ecosystem. New Forests 43:319-333. DOI 10.1007/s11056-011-9283-7.
บทคัดย่อ: ความสำเร็จของการหยอดเมล็ดโดยตรงในฐานะวิธีการฟื้นฟูป่าต้นทุนต่ำ แปรผันตามชนิดและคุณลักษณะของเมล็ด ระบบที่สามารถทำนายชนิดพืชที่เหมาะสมจะมีประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงโครงการฟื้นฟูป่า การศึกษานี้มุ่งอธิบายผลของคุณลักษณะเมล็ดต่อความสำเร็จของการหยอดเมล็ดโดยตรงในการฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคใต้ของไทย เมล็ดของไม้ยืนต้นท้องถิ่นป่าเขตร้อนที่ราบต่ำจำนวน 19 ชนิดจากชายฝั่งทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้ได้ถูกเก็บมาวัดขนาด รูปร่าง ความหนาของเปลือก และความชื้น มีการทดสอบในแปลงเพื่ออธิบายอัตราการงอกของเมล็ดและเพื่อคำนวณค่าความเหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงสำหรับพืชแต่ละชนิดร่วมกับการตั้งตัวและอัตราการเติบโตของกล้าไม้ จากการศึกษาพบว่าขนาดของเมล็ด รูปร่าง และความชื้นมีความสัมพันธ์กับร้อยละการงอก พืชชนิดที่มีการรอดชีวิตสูงมีแนวโน้มที่จะมีเมล็ดขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง เมล็ดกลมหรือรี เมล็ดมีความชื้นปานกลางหรือแห้ง ความหนาของเปลือกหุ้มเมล็ดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับค่าความเหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรง (r = 0.65, p<0.01) พืชชนิดที่เปลือกหุ้มเมล็ดหนา >0.4 มิลลิเมตร แสดงค่าความเหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงสูงกว่าชนิดที่เปลือกบาง สภาพแวดล้อมนี้สามารถทำนายความสำเร็จหรือความล้มเหลวของวิธีหยอดเมล็ดโดยตรงของพืช 15 ชนิด จากทั้งหมด 19 ชนิดที่มีการทดสอบ โดยสรุปไม้ยืนต้นจำนวน 8 ชนิด เหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้ของประเทศไทยโดยวิธีหยอดเมล็ดโดยตรง