FORRU
ห้องสมุด

ผลของการทดน้ำต่อชีพลักษณ์และประชากรต้นกล้าในป่าเต็งรังที่ห้วยฮ่องไคร้

Language:
ผลของการทดน้ำต่อชีพลักษณ์และประชากรต้นกล้าในป่าเต็งรังที่ห้วยฮ่องไคร้
Date:
1994
Author(s):
Phonesavanh, B.
Publisher:
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number:
138
Suggested Citation:

Phonesavanh, B., 1994. Effects of Irrigation on The Phenology and Seedling Community of a Deciduous Dipterocarp Forest at Huai Hong Khrai. MSc Thesis, the Graduate Schol Chiang Mai University.

การตรวจสอบผลของการทดน้ำต่อชีพลักษณ์ และประชากรต้นกล้าในป่าเต็งรังที่ห้วยฮ่องไคร้ ตำบลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง ธันวาคม ปีค.ศ.1993 โดยมีการเลือกศึกษาสองพื้นที่ คือ พื้นที่ที่มีการทดน้ำ และไม่มีการทดน้ำ ซึ่งกำหนดพื้นที่ตัดขวางในทั้งสองพื้นที่ขนาบไปกับสันเขาด้านบน และห้วยน้ำด้านล่าง เพื่อเปรียบเทียบประชากรต้นกล้า ฤดูช่วงเวลาออกดอกและผล การสร้างใบ และความเสียหายที่เกิดจากแมลงของต้นโตเต็มวัย รวมถึงมีการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตสัมพันธ์ และอัตราการตายในประชากรต้นกล้าระหว่างสองพื้นที่ด้วย จำนวนของสปีชีสฺได้จากคำนวณ  Modified Hill's index และ Hill's diversity index เพื่อใช้เปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของสปีชีส์ ความหลากหลาย และความสม่ำเสมอระหว่างในประชากร

พื้นที่สันเขาที่มีการทดน้ำ (IR)  และห้วยที่ไม่มีการทดน้ำ (NG) มีความหลากหลายของสปีชีส์ในประชากรต้นกล้าน้อยกว่าพื้นที่สันที่เขาไม่มีการทดน้ำ (NR)  และห้วยที่มีการทดน้ำ (IG) ในพื้นที่ NR มีสัดส่วนของใบไม้ร่วงมากกว่า และการแตกใบน้อยกว่าในพื้นที่ IR อย่างมีนัยสำคัญ การออกดอก และผลไม่ได้รับผลกระทบจากการทดน้ำ แต่มีความแตกต่างกันในแต่ละชนิด จากชีพลักษณ์การหล่นของเมล็ดตามธรรมชาติมีความสัมพันธ์กับความชื้นของดิน ความเสียหายจากแมลงในพื้นที่ NR มากกว่า IR ในขณะที่มีความคล้ายกันระหว่างพื้นที่ห้วยทดน้ำ และไม่ทดน้ำ การทดน้ำไม่ได้มีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการเจริญของต้นกล้า และในแต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีการตอบสนองที่สอดคล้องกับการทดน้ำ อย่างไรก็ตาม การทดน้ำลดเปอร์เซ็นของทราย และเพิ่มความชื้นในดินอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่ห้วยที่มีการทดน้ำเท่านั้น

ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ชลประทานฉีดฝอย หรืออื่นๆ อาจทำให้ผลกระทบของการทดน้ำเพิ่มขึ้น อีกทางเลือกหนึ่ง การปลูกไม้ผลัดใบที่มีความเกี่ยวข้องกับ mycorrhizae ร่วมกับการทดน้ำอาจช่วยฟื้นฟูป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรมได้