FORRU
ห้องสมุด

การติดตามตรวจสอบแบบอัตโนมัติในการฟื้นฟูสัตว์ป่า

Language:
AUTO-MONITORING WILDLIFE RECOVERY
Date:
2020
Publisher:
FORRU-CMU
Editor(s):
Elliott S., G, Gale & M. Robertson
Serial Number:
135
Suggested Citation:

Gale, G. & S. Bumrungsri, 2020. Auto-monitoring wildlife recovery. Chapter 13 pp194-211 in Elliott S., G, Gale & M. Robertson (Eds), Automated Forest Restoration: Could Robots Revive Rain Forests? Proceedings of a brain-storming workshop, Chiang Mai University, Thailand. 254 pp.

บทนำ: การติดตามสัตว์ป่าระหว่างกระบวนการฟื้นฟูป่าได้ตอบคำถามอย่างเช่น สัตว์ป่าสายพันธุ์ใดที่จะย้ายหรือหายไปจากพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟู และมีจำนวนเท่าไหร่? ซึ่งเราเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจนกและสัตว์เลี้ยงลูก โดยเฉพาะค้างคาว สำหรับทั้งนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัตินั้นมีความสำคัญแต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ซึ่งก่อนที่ระบบอัตโนมัติจะถูกนำไปใช้ได้จริง ในอดีตล้วนเป็นวิธีที่ใช้แรงงานทั้งนั้น ในปัจจุบันเราสามารถจำแนกชนิดของสัตว์ป่าและประเมินความอุดมสมบูรณ์ได้โดยใช้การบันทึกเสียงและการถ่ายภาพ แต่ซอฟต์แวร์บ่งชี้ชนิดพันธุ์โดยใช้ข้อมูลเสียงยังทำงานไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาวะที่กดดันในการสำรวจภาคสนาม พบว่าระบบมีความไม่สเถรียรโดยไม่สามารถแยกแยะเสียงที่ทับซ้อนกันได้และไม่สามารถแยกเสียงพื้นหลังที่รบกวนออกได้ สำหรับรูปภาพมีความผันแปรสูงกับสภาวะแสงที่เปลี่ยนแปลงและขาดความคมชัดของภาพ อย่างไรก็ตามระบบอัตโนมัติยังคงถูกพัฒนาต่อไปและมีแนวโน้มว่าระบบเหล่านี้จะมีความเท่าเทียมกับมนุษย์ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะสามารถประหยัดเวลาในการทำงานได้มาก จำกัดการค้นหาสายพันธุ์เฉพาะ และสามารถส่งต่อข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้โดรนยังสามารถใช้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลภาพและเสียงจากอุปกรณ์ไร้สายในพื้นที่นอกพื้นที่ครอบคลุมของเครือข่าย ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้ที่ให้ความถูกต้องสูง ราคาไม่แพง และเป็นประโยชน์ในการสำรวจ จึงมีความคาดหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงสำรวจสัตว์ป่าในกระบวนการฟื้นฟูป่าในอนาคตสะดวกสบายมากขึ้น

คลิกที่นี่ เพื่อดูบทความอื่นในฉบับนี้