การตั้งตัวตามธรรมชาติของต้นกล้าไม้ยืนต้นในพื้นที่ทดสอบการฟื้นฟูป่าที่บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Sinhaseni, K., 2008. Natural Establishment of Tree Seedlings in Forest Restoration Trials at Ban Mae Sa Mai, Chiang Mai Province. MSc thesis, the Graduate School Chiang Mai University.
บทคัดย่อ: หน่วยวิจัยและฟื้นนฟูป่า (FORRU) ประสบความสําเร็จในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูป่าโดยกระตุ้นการกลับคืนมาของป่าตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ป่าที่ถูกทําลายในภาคเหนือของประเทศไทย โดยปลูกไม้ยืนต้นท้องถิ่น 20-30 ชนิด ที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนทานต่อไฟ และวัชพืช รวมถึงดึงดูดสัตว์ป่าที่ช่วยกระจายเมล็ด พื้นที่ทดลองตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภาคเหนือของประเทศไทยและมีการปลูกป่าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือ I) เพื่อศึกษาว่าการฟื้นฟูช่วยสนับสนุนการเกิดต้นกล้าไม้ยืนต้นที่ไม่ได้ปลูกในแปลงทดลองปลูกป่า และการเพิ่มขึ้นของความหลากหลายของชนิดพันธุ์หรือไม่ และ II) ศึกษาอิทธิพลจากชนิดไม้ยืนต้นที่ปลูกความหนาแน่นของแปลงปลูกอายุแปลงปลูกและไฟต่อการตั้งตัวตามธรรมชาติของกล้าไม้ยืนต้น
ในการวิจัยนี้ใช้สองวิธีในการสํารวจต้นกล้า ในการศึกษาอิทธิพลของความหนาแน่นในการปลูกโดยวางพื้นที่หน่วยเก็บตัวอย่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 10x30 เมตรในแปลงปลูกปีพ.ศ.2542 ที่มีความหนาแน่นของกล้าไม้ 3 ระดับ (ระยะระหว่างต้นเมื่อ ปลูกคือ 2.3, 1.8 และ1.5 เมตร) ส่วนการศึกษาอิทธิพลของอายุแปลงปลูกต่อต้นกล้าที่เกิดขึ้นใหม่ในแปลงปลูกป่า ด้วยการใช้หน่วยเก็บตัวอย่างรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร วางในแปลงปลูกป่าเมื่อปีพ.ศ. 2541, 2545 และแปลงที่ไม่มีการปลูกโดยในทุกหน่วยการเก็บตัวอย่าง จะเก็บข้อมูลของต้นกล้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและวัดความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณโคนต้น (ใช้เวอเนียร์คาลิปเปอร์) ความกว้างทรงพุ่ม สุขภาพของต้นกล้า วัชพืชที่อยู่ใกล้เคียงและร่มเงา นอกจากนี้ บันทึกชนิดของพรรณไม้โครงสร้างที่พบต้นกล้าอยู่ใต้ทรงพุ่ม ว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือไม่ ความหนาแน่นของประชากรต้นกล้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและอัตราส่วนของชนิดพืชของป่าอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นตามอายุของแปลงปลูกการปลูกด้วยระยะ 1.8 เมตร (3,125 ต้นต่อเฮกแตร์) ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูงสุดต่อการตั้งตัวของต้นกล้า เมล็ดส่วนใหญ่ที่เข้าสู่แปลงเป็นกลุ่มที่กระจายด้วยสัตว์ (มากกว่าลม) การตายของกล้าไม้ในแปลงควบคุมสูงกว่าในแปลงปลูกป่าและมี การตายสูงที่สุดในช่วงฤดูฝนที่ 2 กล้าไม้ยืนต้น 73 ชนิดที่พบในแปลงปลูกเป็นชนิดใหม่ไม่ใช่พรรณไม้โครงสร้างไฟที่เข้ามาในแปลงฟื้นฟูป่าขัดขวางการตั้งตัวของต้นกล้าและเพิ่มอัตราการตาย ส่งผลให้ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพลดลง พรรณไม้โครงสร้างทั้ง 57 ชนิดที่ปลูกสนับสนุน
การตั้งตัวของกล้าไม้ชนิดใหม่ใต้ทรงพุ่ม ซึ่ง 3 อันดับแรกที่มีผลดังกล่าวคือเดื่อไทร นางพญาเสือโคร่ง และ ทองหลางป่า และต้นกล้าที่พบใต้พุ่มส่วนใหญ่เป็นชนิดที่นําพาเมล็ดด้วยสัตว์ ดังนั้น วิธีการพรรณไม้โครงสร้างจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการฟื้นตัวของป่า