FORRU
ห้องสมุด

ผลของกิจกรรมการฟื้นฟูป่าต่อความหลากหลายของพืชพื้นล่างและกล้าไม้

Language:
Effects of forest restoration activities on the species diversity of ground flora and tree seedlings
Date:
2000
Author(s):
Khopai, O
Publisher:
Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Serial Number:
131
Suggested Citation:

Khopai, O., 2000. Effects of forest restoration activities on the species diversity of ground flora and tree seedlings.

การศึกษานี้ดำเนินการเพื่อพิจารณาว่าการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำจัดวัชพืชและการให้ปุ๋ยในการฟื้นฟูป่า ช่วยเพิ่มความหลากหลายของพืชพื้นล่างและต้นกล้า งานวิจัยนี้ดำเนินการในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นป่าดิบ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยแปลงทดลอง 4 แปลง คือ แปลงที่ปลูกด้วยพรรณไม้ท้องถิ่นในปี 2540 และ 2541 (แปลง P97 และ P98) จำนวน 2 แปลง เป็นแปลงที่มีการป้องกันไฟป่า ใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช และแปลงควบคุมของแต่ละปี จำนวน 2 แปลง (แปลง C97 และ C98 ) ซึ่งไม่ได้ปลูกต้นไม้และทำกิจกรรมอื่นใดนอกจากการป้องกันไฟ ในแปลงที่มีการปลูกต้นไม้นั้น ไม่ได้ทำการตัดกล้าไม้ที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติออกไปด้วย มีการใช้ไกลโฟเสตเพื่อเคลียร์พื้นที่ก่อนปลูก และกำจัดวัชพืชรอบๆ ต้นไม้ที่ปลูกและกล้าไม้ตามธรรมชาติโดยใช้เครื่องมือ เมื่อมีการปลูกต้นกล้าใส่ปุ๋ยประมาณ 100 กรัม สำหรับต้นกล้าธรรมชาติและต้นกล้าที่ปลูก หลังจากปลูกแล้วกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องมือเดือนละครั้งในฤดูฝน ใส่ปุ๋ย (100 กรัม) ทันทีที่มีการตัดหญ้า ทำการสำรวจพืชพรรณต่างๆ รวมทั้งต้นไม้ที่ปลูก พืชพื้นล่าง กล้าไม้ธรรมชาติ (รวมถึงต้นกล้า ไม้หนุ่ม และต้นไม้ใหญ่) โดยใช้การเดินสำรวจและแปลงวงกลม รัศมี 2.5 เมตร ซึ่งครอบคลุม 24% ของแปลงย่อย จำนวน 3 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้ง ช่วงกลางและปลายฤดูฝน จากการสำรวจทั้งหมด พบพืช 136 ชนิด (ยกเว้นต้นไม้ที่ปลูก) ในแปลง P98 จำนวน 95 ชนิด ในแปลง C98 จำนวน 71 ชนิด ในแปลง P97 จำนวน 33 ชนิด และ ในแปลง C97 จำนวน 41 ชนิด จำนวนทั้งหมดของชนิดพรรณไม้พื้นล่างและกล้าไม้ธรรมชาติที่พบในแปลง P98 คือ 75 และ 29 ในแปลง C98 คือ 51 และ 27 ในแปลง P97 คือ 28 และ 5 และในแปลง C97 คือ 37 และ 4 ชนิด พบจำนวนชนิดของต้นไม้ที่ปลูก 30 ชนิด ในแปลง P98 จำนวน 22 ชนิด และ P97 จำนวน 14 ชนิด

หลังจากการปลูกปีแรก ความหลากชนิดและความสม่ำเสมอของพืชพื้นล่างในแปลง P98 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแปลง C98 อาจเป็นผลมาจากการตัดหญ้าช่วยกำจัดไม้ยืนต้นที่โดดเด่น ทำให้แปลง P98 เกิดการรุกรานของไม้ล้มลุกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) สองปีหลังจากปลูกต้นไม้ ความหลากหลายของชนิดพืชพื้นล่างในแปลง P97 ลดลง เนื่องจากเรือนยอดของต้นไม้ที่ปลูกปิดชิดกันและลดโอกาสในการเกิดขึ้นใหม่ของพืชพื้นล่าง ความหลากหลายของพืชพื้นล่างสูงในแปลง C97 ในขณะที่ความสม่ำเสมอนั้นต่ำในแปลง P97 เนื่องจากไฟได้กำจัดวัชพืชส่วนใหญ่ไป การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ยเร่งการตั้งตัวของกล้าไม้ธรรมชาติและเพิ่มความหนาแน่นของต้นไม้เกิดขึ้นตามธรรมชาติในแปลงปลูก แม้ว่าจำนวนชนิดของกล้าไม้ธรรมชาติที่พบจะเท่ากันในแปลง 2540 และความหลากชนิดของต้นไม้ธรรมชาติไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งในแปลง ปี 2540 และ 2541 ต้นไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดีและเติบโตเร็ว ต้นไม้ที่ปลูกทั้งหมด ยกเว้น คากคาก (Nyssa javanica) และ มะดะ (Garcinia mckeaniana) เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมในการปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าในบริเวณนี้