การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ และต้นไม้ที่ปลูกในป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรม เพื่อประเมินโอกาสในการฟื้นฟู
Kasemsuk, M., 2007. A Comparison of Growth of Naturally Established and Planted Trees in a Degraded Deciduous Dipterocarp Forest: Assessing the Potential for Forest Regeneration. MSc thesis, The Graduate School, Chiang Mai University
การตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในประเทศเขตร้อน ซึ่งส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และเกิดการเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การพังทลายของดิน ดังนั้น โครงการนี้จึงมีจุดประสงค์ เพื่อทดลองหาวิธีต่างๆ ในการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าเต็งรังเสื่อมโทรม ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมสูงภายในจังหวัดลำพูน ภาคเหนือของประเทศไทย
โดยเลือกต้นไม้มาปลูกในแปลงทดลองจำนวน 4 แปลง ขนาด 40x40 ตารางเมตร ซึ่งมีชนิด ดังนี้ Archidendron clypearia (Jack) Niels. ssp. clypearia var. clypearia, Eugenia formosa Wall., Gmelina arborea Roxb., Ficus fistulosa Reinw. ex Bl. var. fistulosa, Albizia lebbeck (L.) Bth., Ficus rumphii Bl., Adenanthera pavonina L. var. microsperma (Teijsm. & Binn.) Niels., Sindora siamensis Teysm. ex Miq. var. siamensis, Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib, Mangifera caloneura Kurz, Trewia nudiflora L., Terminalia bellirica (Gaerth.) Roxb., Saurauia roxburghii Wall., Artocarpus lakoocha Roxb. และ Lagerstroemia macrocarpa Kurz var. macrocarpa. ใช้เป็นตัวอย่างชนิดละ 20 ต้น จากนั้น ทำการปลูกลง 4 แปลงที่แตกต่างกัน โดยแปลงที่ 1 ใช้โพลิเมอร์ และกระดาษแข็ง แปลงที่ 2 แปลงควบคุม ไม่มีการใช้วัสดุใดๆ แปลงที่ 3 ใช้เฉพาะกระดาษแข็ง และแปลงที่ 4 ใช้เฉพาะโพลิเมอร์
ผลการทดลอง คือ เปอร์เซ็นรอด และค่าการเจริญเฉลี่ยของต้นไม้ในแปลงที่ 1 มีค่ามากที่สุด (โพลิเมอร์ และกระดาษแข็ง)รองลงมา คือ แปลงที่ 3 (เฉพาะกระดาษแข็ง) แปลงที่ 4 (เฉพาะโพลิเมอร์) และแปลงที่ 2 (แปลงควบคุม) ตามลำดับ
พรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการฟื้นฟูป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรม ได้แก่ Afzelia xylocarpa, Sindora siamensis, Albizia lebbeck, Ficus rumphii, Gmelima arborea, Adenanthera pavonina, Terminalia bellirica and Lagerstroemia macrocarpa. ชนิดที่ยอมรับได้ ได้แก่ Mangifera caloneura ชนิดที่ใช้ได้เล็กน้อย ได้แก่ Trewia nudiflora, Artocarpus lakoocha และ Ficus fistulosa ชนิดที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ Eugenia formosa, Archidendron clypearia and Saurauria roxburghii
การสำรวจต้นไม้ที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติในป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรมด้วยแปลงตัวอย่าง 15 แปลง โดยเป็นแปลงวงกลม รัศมีเท่ากับ 5 เมตร โดยใช้ดัชนี Shannon-Wiener ในการคำนวณความหลากหลายทางชีวภาพ ค่าออกมาเท่ากับ 2.08 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์สูงที่สุด อัตราการรอดของต้นไม้ตามธรรมชาติมากกว่า 70% ซึ่งสามารถใช้เป็นพรรณไม้ท้องถิ่นในการฟื้นฟูป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรมได้ในอนาคต
โครงการนี้ เป็นข้อมูลเริ่มต้นในการฟื้นฟูป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย แต่ยังต้องการการศึกษาในระยะยาว เพื่อประเมินประสิทธิภาพของชนิดต้นไม้ที่นี้ และต้องทำซ้ำเพื่อกำหนดความเหมาะสมของเทคนิคที่ใช้ทดสอบในงานวิจัยนี้