FORRU
ห้องสมุด

ผลของวัสดุปลูก และสารกำจัดเชื้อราที่มีต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้าในช่วงต้น

Language:
ผลของวัสดุปลูก และสารกำจัดเชื้อราที่มีต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้าในช่วงต้น
Date:
1999
Author(s):
Chaiyasirinrod, S
Publisher:
Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Serial Number:
115
Suggested Citation:

Chaiyasirinrod, S. 1999. Effects of Media and Fungicide on Seed Germination and Early Seedling Growth

งานวิจัยนี้ ทดสอบผลของสูตรผสมของวัสดุปลูก และการใช้สารกำจัดเชื้อราที่มีต่อการขยายพันธุ์พืชท้องถิ่น 3 ชนิด เพื่อใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าบนผืนป่าที่เสื่อมโทรม โดยทำการทดสอบวัสดุปลูก 3 สูตร (ทราย+ดิน, ทราย+กาบมะพร้าว และดิน+กาบมะพร้าว) และสารกำจัดเชื้อรา 2 แบบ (ที่มี Captan และไม่มี Captan) ร่วมกับพืชท้องถิ่นทั้งหมด 3 ชนิดที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (ไทรย้อย หรือ Ficus benjamina, ทะโล้ หรือ Schima wallichii และ มะกอกห้ารู หรือ Spondias axillaris) เพื่อดูเปอร์เซ็นการงอกของเมล็ด อัตราการงอก การเจริญและตายของต้นกล้าของพืชเหล่านี้ โดยเพาะเมล็ดให้งอกอยู่บนถาดพลาสติก และเมื่อเจริญจนเป็นต้นกล้า จะถูกย้ายลงไปปลูกในถุงพลาสติกสีดำขนาด 9x2.5 นิ้ว ซึ่งประกอบไปด้วยวัสดุปลูก สูตร ดิน:กาบมะพร้าว:เปลือกถั่ว เท่ากับ 2:1:1 เมื่อครบสองสัปดาห์หลังลงปลูก ทำการวัดความสูงของต้นกล้าสองครั้ง และสามเดือนหลังจากนั้น คำนวณอัตราการเจริญสัมพันธ์

สูตรผสมของวัสดุปลูก และยากำจัดเชื้อราไม่ส่งผลต่อการงอกของเมล็ดอย่างมีนัยสำคัญ สูตรผสมระหว่างทราย และดิน เป็นวัสดุปลูกที่ดีที่สุดในการลดการตายของต้นกล้าช่วงต้น และเพิ่มการเจริญของต้นกล้า ส่วนยากำจัดเชื้อรามีส่วนในการลดการตายช่วงต้นในต้นกล้าหลายชนิด และวัสดุปลูกส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ กาบมะพร้าวทำให้เพิ่มการตายของต้นกล้าหลายชนิด และวัสดุปลูกส่วนใหญ่ (อาจเนื่องมาจากการกักเก็บความชื้นที่มากเกินไปของเชื้อรา) ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้งานกาบมะพร้าว จากผลการทดลองของงานวิจัยนี้  วิธีการเพาะเมล็ดเพื่อให้เกิดการงอกที่แนะนำให้ใช้มากที่สุด คือ การใช้วัสดุปลูกสูตรผสมทรายและดิน ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราที่มี Captan อยู่บนผิวดิน โดยที่หว่านเมล็ด และรอเป็นเวลาหนึ่งเดือน จะส่งผลดีต่อการงอกเมล็ดของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเหล่านี้