การแพร่กระจายและงอกของเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่น 2 ชนิด: Gmelina arborea (Roxb.) และ Terminalia chebula Retz. var. chebula
Sinhaseni, K., 2005. Seed Dispersal and Germination of 2 Native Tree Species: Gmelina arborea (Roxb.) and Terminalia chebula Retz. var. chebula. BSc. Special Project, Chiang Mai University.
บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยการใช้พรรณไม้ท้องถิ่น หรือการฟื้นฟูป่าด้วยพรรณไม้โครงสร้าง ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการแพร่กระจายของพรรณไม้ในระบบนิเวศ ซึ่งพื้นที่ทดลองตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนแรก เป็นการศึกษาว่า เมล็ด Gmelina arborea Roxb. และ Terminalia chebula Retz. Var. chebula มีความน่าดึงดูดต่อสัตว์ป่ามากน้อยเพียงใด รวมถึงกลไกการแพร่กระจายของเมล็ด โดยการสังเกตโดยตรงด้วยกล้องส่องทางไกลในแหล่งที่อยู่ธรรมชาติ เมล็ดที่ดูดดึงสัตว์ป่า และแพร่กระจายด้วยสัตว์ ถือเป็นลักษณะที่มีความจำเป็นในการฟื้นฟูป่าด้วยพรรณไม้โครงสร้าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพได้ โดยกระรอก 2 ชนิด ได้แก่ Callosciurus finlaysoni และ Tamiops mcclellandi ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพืชทั้งสองชนิด และกระรอก Callosciurus erythaeus สามารถช่วยแพร่กระจายเมล็ดของ T. chebula. ได้
ส่วนที่สอง เป็นการสำรวจการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อเมล็ดก่อนนำไปเพาะเลี้ยง เพื่อให้เมล็ดของ Terminalia chebula เกิดการงอกได้มากที่สุด โดยมีการทดลอง 4 วิธี คือ i) แช่เมล็กในน้ำอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 วัน ii) จุ่มเมล็ดใน 0.01 M กรดซัลฟิวริกเป็นเวลา 10 วินาที iii) อุ่นในน้ำอุณหภูมิ 70 º C และ iv) กรีดเมล็ดเป็นรอยขนาดเล็กที่เปลือกเมล็ด (testa). ผลวัดเป็นเปอร์เซ็นการงอก คือ การจุ่มในกรดซัลฟิวริก และแช่ในน้ำร้อน มีเปอรเซ็นการงอกต่ำกว่าชุดควบคุม ส่วนการกรีดเมล็ดด้วยมือ และแช่ในน้ำเป็นเวลาสองวัน เปอร์เซ็นการงอกทั้งสองวิธีไม่แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระยะพักตัว (MLD) ของวิธีการกรีดเมล็ดมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ