การประยุกต์ใช้การสำรวจระยะไกลในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน: ข้อดีและข้อเสีย
Frame, D. & C. Garzon-Lopez, 2020. Applications of remote sensing for tropical forest restoration: challenges and opportunities. Chapter 3, pp46-53, in Elliott S., G, Gale & M. Robertson (Eds), Automated Forest Restoration: Could Robots Revive Rain Forests? Proceedings of a brain-storming workshop, Chiang Mai University, Thailand. 254 pp.
บทนำ: ความพยายามอย่างมากในด้านกำลังและอุปกรณ์เพื่อประเมินความเสื่อมโทรมของป่าไม้ที่แม่นยำและวางแผนตรวจสอบการฟื้นตัวของพืชโดยใช้การสำรวจพื้นดินแบบดั้งเดิมจำกัดความสำเร็จของโครงการฟื้นฟูป่าเขตร้อน รีโมตเซนซิ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยา และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีศักยภาพในการประเมินความเสื่อมโทรมของป่า และสร้างมาตรฐานและเพิ่มความแม่นยำของข้อมูลในหลายระดับในกระบวนการฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนแรงงานในการสำรวจพืชพรรณอย่างมาก ข้อมูลรีโมตเซนซิ่งมีความซับซ้อนและแตกต่างกันไป ตั้งแต่ภาพ RGB สองมิติ ที่รวบรวมจากกล้องอนาล็อกหรือดิจิตอล ไปจนถึงสามมิติครอบคลุมความถี่ได้หลายร้อยแถบ
คลิกที่นี่เพื่อดูหัวข้ออื่นในฉบับนี้