FORRU
ห้องสมุด

เมื่อวิทยาศาสตร์กับชุมชนพบกัน: การพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย  

Language:
Where science meets communities: developing forest restoration approaches for northern Thailand
Date:
2018
Author(s):
Elliott S., S. Chairuengsri, D. Shannon, P. Nippanon & A. Ratthaphon
Publisher:
The Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 63(1):11-26.
Serial Number:
83
Suggested Citation:

Elliott S., S. Chairuengsri, D. Shannon, P. Nippanon & A. Ratthaphon, 2018. Where science meets communities: developing forest restoration approaches for northern Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 63(1):11-26.

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบการศึกษาด้านการฟื้นฟูป่าจากสองโครงการในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยซึ่งเป็นการร่วมงานระหว่างนักวิจัยและชุมชน  

ความร่วมมือของชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่ กับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ได้เริ่มฟื้นฟูป่าการตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 -2556 เพื่อทดสอบวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ซึ่งโครงการได้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเทคนิควิธีการฟื้นฟูป่า และมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการฟื้นฟูป่า นอกจากนั้นการกลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอน เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายของโครงการ ในส่วนของชาวบ้านก็ได้รับประโยชน์จากคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอุทยานฯ  ในปัจจุบันนี้อาจจะมีปํญหาด้านการตัดต้นไม้ และมาตรการป้องกันไฟป่า (อาจเป็นเพราะโครงการระยะยาวทำให้เกิดความเหนื่อยล้า) ได้เป็นภัยคุกคามความยั่งยืนของแปลงฟื้นฟูป่า

ในปี พ.ศ.2558 บ้านปงไคร้ ชุมชนของคนเมือง (ใช้เรียกคนท้องถิ่นของภาคเหนือ) ใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำที่อยู่เหนือหมู่บ้าน หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้สนับสนุนวิธีการฟื้นฟูป่าให้กับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในป่าเอเชีย ประเทศไทย (LEAF) ในการจัดตั้งโครงการต้นแบบ"การจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ" (PES) โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างชุมชนและบริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งโรงงานน้ำแร่บรรจุขวด ซึ่งคุณภาพของน้ำแร่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นน้ำ และสิ่งที่สำคัญคือชาวบ้านตกลงกันไม่รับเงินค่าแรง แต่ได้นำเงินก้อนนั้นจัดทำเรือนเพาะชำกล้าไม้ของชุมชน เพื่อเพาะต้นกล้าและขายต้นกล้าให้กับโครงการในปีต่อๆไป โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรนานาชาติ ตลอดจนเทคนิคการฟื้นฟูป่าที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนซึ่งมีการพัฒนาแบบแผนโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า

จากการทำโครงการเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการฟื้นฟูป่า การสนับสนุนโครงการระยะยาว และการระดมทุนเพื่อให้เกิดกลไกการฟื้นคืนผืนป่าอย่างยั่งยืน