FORRU
ห้องสมุด

คาร์บอนอินทรีย์ในดินในป่าฟื้นฟูและป่าธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย

Language:
คาร์บอนอินทรีย์ในดินในป่าฟื้นฟูและป่าธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย
Date:
2015
Author(s):
Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S.  Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
Publisher:
KKU Res. J. 20(3): 294-304.
Serial Number:
81
Suggested Citation:

Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S.  Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong, 2015. Soil organic carbon stock in restored and natural forests in Northern Thailand. KKU Res. J. 20(3): 294-304.

บทนำ: การฟื้นฟูป่าเขตร้อนมีบทบาทในการลดผลกระทยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การเก็บข้อมูลคาร์บอนอินทรีย์ในดินได้คัดเลือกจากแปลงฟื้นฟูภาคเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ที่ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง อายุขัยของแปลงตั้งแต่ 2, 7, และ 11 ปี ใกล้เคียงกับป่าสมบูรณ์ พบว่าการฟื้นฟูป่าเพิ่มอัตราของคาร์บอนอินทรีย์ในดินเปรียบเทียบกับพื้นที่ก่อนปลูก ทำให้สามารถคาดคะแนระยะเวลาการกลับมาของป่าสมบูรณ์เท่ากับ 21.5 ปี อย่างไรก็ตามปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินที่ถูกวัดในความลึกที่ 2 เมตร ไม่เพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของป่าที่ทดสอบในแปลงควบคุม ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินที่ต่ำในแปลงฟื้นฟูอายุ 11 ปี ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าจากผลกระทบของการใช้ที่ดิน ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินในชั้นดินชั้นล่างลดลงอย่างต่อเนื่องตามไปด้วย นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนอินทรีย์ในดินจะลดลงตามความลึกของดิน นั่นหมายความว่าการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างจะเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดินมากกว่าการปลูกพืชเชืงเดี่ยวในพื้นที่เดียวกัน