FORRU
ห้องสมุด

การประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนต่อการร่วงหลงและการย่อยสลายของซากพืชในระบบนิเวศป่าเขตร้อน ภาคเหนือของประเทศไทย

Language:
Use of the framework species method to restore carbon flow via litterfall and decomposition in an evergreen tropical forest ecosystem, northern Thailand
Date:
2015
Author(s):
Kavinchan, N. P. Wangpakapattanawong, S. Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
Publisher:
Kasetsart J. (Nat. Sci.) 49 : 639 - 650.
Serial Number:
80
Suggested Citation:

Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S. Elliott, S. Chairuangsri & J. Pinthong, 2015. Use of the framework species method to restore carbon flow via litterfall and decomposition in an evergreen tropical forest ecosystem, northern Thailand. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 49 (4): 639 - 650.

บทนำ - หากการฟื้นฟูป่ามีบทบาทที่สำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ยังคงต้องพึ่งพาความรู้เพื่อหากระบวนการฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนในระดับเดียวกันกีบป่าธรรมชาติให้เร็วที่สุด การร่วงหลงของซากพืชและการย่อยสลายเป็นสององค์ประกอบหลักที่สำคัญสำหรับการหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศป่าเขตร้อน งานวิจัยแสดงปริมาณความสมดุลระหว่างกระบวนการทั้งสองในแปลงทดลองภายใต้พื้นที่ฟื้นฟูป่าดิบชื้นที่สูงด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างในลุ่มน้ำตอนบนของหุบเขาแม่สา จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย โดยคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิด ให้มีความหนาแน่นอยู่ที่ 3,100 ต้นในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ อ้างอิงจากการงานวิจัยในปีค.ศ. 1998, 2002, และ 2007 การวัดการไหลของคาร์บอนในแปลงฟื้นฟูถูกเปรียบเทียบกับป่าที่โตเต็มที่และพื้นที่ควบคุมที่ไม่ได้ปลูก ซึ่งการเก็บข้อมูลได้นำซากพืชที่แห้งแล้ว (ใช้ที่กักเก็บเศษซากใบไม้และเก็บทุกเดือน) เปอร์เซ็นต์คาร์บอน (ใช้เทคนิคของแวคลี แบรค) และอัตราการย่อยสลาย (ใช้ถุงเก็บเศษซากใบไม้) ปริมาณคาร์บอนสุทธิที่เตรียมไว้ในพื้นที่กักเก็บดินจากการทิ้งใบลดลงต่ำกว่าระดับควบคุมเป็นเวลาอย่างน้อย 7 ปี หลังปลูกต้นไม้ (เนื่องมาจากเข้ามาของไฟและวัชพืช) แต่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากในระดับ 61% ของป่าธรรมชาติภายใน 11 ปี และคาดว่าเพิ่มขึ้นถึงระดับเดียวกันกับป่าธรรมชาติ (1.33 ตันเฮกตาร์ ปี 1 คาร์บอน) ใน 14-16 ปีหลังปลูกต้นไม้ ดังนั้นวิธีพรรณไม้โครงสร้างจึงมีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูการไหลของคาร์บอนในระบบนิเวศป่า ซึ่งควรถูกพิจารณาสำหรับโครงการฟื้นฟูป่าไม้และระบุเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอนไว้ในวัตถุประสงค์ในอนาคตด้วย