FORRU
ห้องสมุด

ความหลากหลายของนกบนดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Language:
ความหลากหลายของนกบนดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
Date:
2014
Author(s):
Meesena, J., N. Sritasuwan & S. Elliott
Publisher:
 J. Yala Rajabhat University, Humanities and Social Science, 9(1):9-2
Serial Number:
79
Suggested Citation:

Meesena, J., N. Sritasuwan and S. Elliott, 2014. Bird diversity on Doi Mae Sa Long, Mae Fa District, Chiang Rai Province. J. Yala Rajabhat University, Humanities and Social Science, 9(1):9-2

ดอยแม่สลองตั้งอยู่ในเทือกเขาแดนลาวและมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนพม่า มีความสูงเฉลี่ย 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และข้อมูลความหลากหลายของนกยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงได้ทำการศึกษาและสำรวจความหลากหลายของนก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดยเก็บข้อมูลความหลากชนิดของนกด้วยวิธี Point Count จำนวน 30 แปลง ประกอบด้วย (1) ป่าปฐมภูมิ 7 แปลง (2) ป่าทุติยภูมิ 11 แปลง และ (3) พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า (ไร่ชา 2 แปลง สวนลิ้นจี่ 2 แปลงสวนยางพารา 2 แปลง ทุ่งหญ้า 2 แปลง แปลงปลูกพืชเพื่อฟื้นฟูป่าอายุ 2 ปี 1 แปลง และสวนสนปลูก 3 แปลง) 12 แปลง พบนก 167 ชนิด จาก 44 วงศ์ 11 อันดับเป็นนกประจำถิ่น 134 ชนิด และนกอพยพ 33 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีความหลากชนิดด้วย Shannon’s Index, H’ พบว่า ในป่าทุติยภูมิมีค่าความหลากชนิดใกล้เคียงกับป่าปฐมภูมิ (H’ = 3.395 และ H’ = 3.316) และพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่ามีค่าความหลากชนิดของนกน้อยที่สุด (H’ = 2.905) ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ Evenness’s Index มีค่าสูงสุดในแปลงป่าทุติยภูมิ (E = 0.910) รองลงมาคือป่าปฐมภูมิและพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า (E = 0.893 และ 0.865 ตามลำดับ) และแปลงป่าปฐมภูมิกับแปลงป่าทุติยภูมิมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงกันหรือ Sorensen Index, CS สูงที่สุด (ร้อยละ 70.09) และพบความคล้ายคลึงกันน้อยที่สุดระหว่างป่าทุติยภูมิกับพื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า (ร้อยละ 61.19) วิเคราะห์ค่าความถี่ของโอกาสที่จะพบชนิดนกประจำถิ่นในแต่ละพื้นที่ศึกษาพบว่านกกระปูด (Centropus sinensis) เป็นชนิดนกที่มีค่าความถี่ของโอกาสที่จะพบนกมากที่สุดรองลงมาคือ นกปรอดหัวสีเขม่า (Pycnonotus aurigaster) ตามลำดับ จากค่าดัชนีต่างๆ พบว่าความหลากหลายของนกในพื้นที่ดอยแม่สลองอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไปหรือพบได้บ่อยครั้ง (generalist species) และมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากพื้นที่ถูกรบกวนอย่างมากจากกิจกรรมของมนุษย์