FORRU
ห้องสมุด

ชีพลักษณ์ของพันธุ์ไม้ที่ต้นแยกเพศชนิด Ficus spp. และความสำคัญในโครงการฟื้นฟูป่า

Language:
ชีพลักษณ์ของพันธุ์ไม้ที่ต้นแยกเพศชนิด Ficus spp. และความสำคัญในโครงการฟื้นฟูป่า
Date:
2012
Author(s):
Kuaraksa, C. S. Elliott and M. Hossaert-Mckey
Publisher:
Elsevier: Forest Ecology and Management 265:82–93.
Serial Number:
77
Suggested Citation:

Kuaraksa, C. S. Elliott & M. Hossaert-Mckey, 2012. The phenology of dioecious Ficus spp. tree species and its importance for forest restoration projects. Forest Ecology and Management 265:82–93.

บทคัดย่อ:

Ficus spp. หรือสกุลโพ-ไทร-มะเดื่อ จัดเป็นต้นไม้ชนิดหลัก (Keystone specie) ในระบบนิเวศป่าเขตร้อน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ให้อยู่ในโครงการฟื้นฟูป่าด้วย อย่างไรก็ตาม การขาดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ที่สำคัญทำให้เป็นข้อจำกัดในการใช้งานต้นไม้ชนิดนี้ โดยเฉพาะข้อมูลของเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ด และปัจจัยที่เป็นไปได้ ซึ่งขัดขวางกลไกการผสมเกสรดอกไม้ที่มีความพิเศษเฉพาะของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จึงมีการศึกษาชีพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของต้นไม้ในสกุล Ficus 7 ชนิดที่มีต้นแยกเพศ (Ficus auriculataF. fulvaF. hispidaF. oligodonF. semicordataF. triloba and F. variegata) ที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทางภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อโครงการฟื้นฟูป่า โดยผลมะเดื่อของต้นเพศผู้ และเพศเมียของแต่ละชนิดได้รับการวัดจำนวนทุกเดือนตลอดระยะเวลาหนึ่งปี (มีนาคม 2008-กุมภาพันธ์ 2009) ใช้วิธี canopy density method ในการวัด ในส่วนของประชากร ส่วนใหญ่มีผลิตผลตลอดปี แต่ความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู การผลิตผลมะเดื่อสุก หรือกล่าวคือ การสร้างเมล็ดที่มากที่สุดพบได้ในต้นเพศเมีย ช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-สิงหาคม ยกเว้นชนิด F. triloba) ในขณะผลของต้นเพศผู้ หรือกล่าวคือ การสร้างแตนในผล มีค่าสูงในช่วง 1-3 เดือนก่อนต้นเพศเมีย ต้น 4 ชนิด ได้แก่ F. auriculata, F. fulva, F. oligodon, และ F. variegate แสดงให้เห็นช่วงจุดวิกฤตคอขวดของการรอดชีวิตของแตน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เนื่องจากผลที่สร้างแตนในต้นเพศผู้มีจำนวนน้อยที่สุด

จากการศึกษานี้ ทำให้ได้คำแนะนำที่มีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์ที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการฟื้นฟูป่าให้มีประสิทธิภาพ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรหลักที่สำคัญของระบบนิเวศป่าเขตร้อน คือ 1. เวลา และสถานที่ที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวเมล็ด 2. คำแนะนำในการขยายพันธุ์ต้นชนิดมะเดื่อที่มีต้นแยกเพศ 3. พื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกต้นไม้แต่ละชนิด และ 5. แผนการฟื้นฟูป่าเพื่อที่คงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่จำเป็นต่อกันทางระบบนิเวศระหว่างต้นมะเดื่อกับพาหะถ่ายเรณู