ที่รกร้างสู่การเป็นป่า: การนำความรู้ของชนพื้นเมืองและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน
Wangpakapattanawong, P., N. Kavinchan, C. Vaidhayakarn, D. Schmidt-Vogt & S. Elliott, 2010. Fallow to forest: Applying indigenous and scientific knowledge of swidden cultivation to tropical forest restoration. Forest Ecology and Management 260:1399–1406.
Contributors
ระบบการเพาะปลูกแบบหมุนเวียน ซึ่งมีการทิ้งพื้นที่ด้วยระยะเวลาที่นานเพียงพอสำหรับการฟื้นตัวของป่าทุติยภูมิ เป็นวิธีการที่สามารถรักษาพื้นที่การปกคลุมของป่าและความหลากหลายของพืชพรรณในสมดุลไดนามิกในพื้นที่เกษตรแบบหมุนเวียน การฟื้นตัวของป่าทุติยภูมิผ่านหลายขั้นตอนต่อเนื่องกัน และโดยการฟื้นตัวที่มีการผสมผสานระหว่างตอไม้ที่ยังมีชีวิตกับต้นกล้าที่พัฒนาขึ้น ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ขาดความรู้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของวิธีการทำไร่หมุนเวียนแบบต่างๆ และบทบาทของสัตว์ในฐานะผู้กระจายเมล็ด ผู้เพาะปลูกแบบหมุนเวียนมีความรู้มากมายเกี่ยวกับพืชที่เติบโตและพลวัตรของไร่หมุนเวียนที่ถูกทิ้งร้าง การฟื้นฟูป่าในประเทศไทยได้ดำเนินการบนพื้นฐานของการวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับศักยภาพของพันธุ์ไม้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวตามธรรมชาติและการกลับคืนมาของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เรียกว่า พรรณไม้โครงสร้าง แหล่งความรู้ที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งสำหรับการฟื้นฟูป่า คือ การศึกษากระบวนการฟื้นฟูป่ากึ่งธรรมชาติในที่รกร้างว่างเปล่าและภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับกระบวนการการทำไร่หมุนเวียนนี้ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของป่าในพื้นที่ทิ้งร้างภายใต้ระบบเกษตรแบบหมุนเวียนที่แตกต่างกัน และวิธีการนำไปใช้กับการฟื้นฟูป่าในทางปฏิบัติ โดยการศึกษาลักษณะพืชพรรณจากพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่แต่ละระยะ ในพื้นที่ทิ้งร้างของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและละวะในลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย ความรู้ของชนพื้นเมืองเกี่ยวกับการใช้ชนิดพันธุ์และกระบวนการทางนิเวศวิทยาแบบดั้งเดิมในไร่หมุนเวียนได้ถูกบันทึกโดยการซักถามจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งข้อมูลเหล่านั้น จะถูกนำมาวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่าและการจัดการป่าแบบมีส่วนร่วม