FORRU
ห้องสมุด

การทดสอบวิธีการพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าไม้ในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย

Language:
Testing the framework species method for forest restoration in Chiang Mai, northern Thailand
Date:
2008
Author(s):
Wangpakapattanawong, P. & S. Elliott
Publisher:
Walailak J Sci & Tech. 5(1):1-15
Serial Number:
74
Suggested Citation:

Wangpakapattanawong, P. & S. Elliott, 2008. Testing the framework species method for forest restoration in Chiang Mai, northern Thailand. Walailuk J. Sci & Tech. 5(1):1-15

บทคัดย่อ: วิธีการพรรณไม้โครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูป่าที่พัฒนาโดย FORRU (หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า) ได้ถูกนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูป่าดิบบนพื้นที่เสื่อมโทรมที่เคยทำการเกษตรกรรม ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย งานวิจัยนี้ได้รายงานผล 3 ปีของการพยายามฟื้นฟูโดยใช้เทคนิคนี้ ที่บ้านทุ่งย่า อำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ระดับความสูงใกล้เคียงกับแปลงเดิมของ FORRU ที่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม ในเดือนมิถุนายน 2545 ได้ทำการปลูกพรรณไม้โครงสร้างจำนวน 20 ชนิด ซึ่งพบว่าในช่วงเวลา 2 ปี ต้นกล้ามีอัตราการรอดตายต่ำกว่าพื้นที่ศึกษาเดิมของ FORRU ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางคอราก และความกว้างทรงพุ่มก็ต่ำกว่าเช่นกัน ต้นกล้าบางต้นตายเพราะถูกวัวเหยียบย่ำ ต้นกล้าบางต้นก็ถูกกินด้วย อย่างไรก็ตาม กล้าไม้หลายชนิด เช่น ชิ้งขาว (Ficus fistulosa) และ มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) สามารถแตกยอดใหม่ได้หลังจากที่ถูกวัวกิน ในปี 2547 มีการคัดเลือกชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง 5 ชนิด เพื่อปลูกในเดือนมิถุนายน ได้แก่ ก่อใบเลื่อม (Castanopsis tribuloides) ชิ้งขาว (Ficus fistulosa) หมอนหิน (Hovenia dulcis) มะคังดง (Ostodes paniculate) และนางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) รวมทั้งต้นกล้าอีก 12 ชนิดที่ไม่เคยปลูก แต่ต้นกล้าเหล่านั้นก็ยังมีอัตราการรอดตายต่ำกว่าที่เดิมของ FORRU หลังจากฤดูปลูกแรก กล้าไม้มีอัตราการรอดตายเฉลี่ยประมาณ 50% ทั้งนี้สภาพแวดล้อมที่เปิดโล่งและมีลมแรงของพื้นที่ปลูกอาจมีส่วนทำให้อัตราการเติบโตและอัตราการรอดตายต่ำกว่าที่คาดไว้ การเตรียมพื้นที่ที่แนะนำโดย FORRU โดยการใช้สารกำจัดวัชพืชและการกำจัดวัชพืช และการใช้กระดาษแข็งคลุมเพื่อเพิ่มการอยู่รอดและการเติบโตของต้นกล้าในพื้นที่นี้