FORRU
ห้องสมุด

ใบไม้ร่วงในช่วงฤดูแล้ง: ความผิดปกติของป่ามรสุมในเอเชีย

Language:
 Leaf flushing during the dry season: the paradox of Asian monsoon forests
Date:
2006
Author(s):
Elliott, S., P. J. Baker & R. Borchert
Publisher:
Global Ecology and Biogeography 15:248–257.
Serial Number:
71
Suggested Citation:

Elliott, S., P. J. Baker & R. Borchert, 2006. Leaf flushing during the dry season: the paradox of Asian monsoon forests. Global Ecology and Biogeography 15:248–257.

เป้าหมาย ชนิดพรรณไม้ในป่าผลัดใบส่วนใหญ่ในป่ามรสุมของประเทศไทยและอินเดียผลิใบใหม่ประมาณ 1-2 เดือน ก่อนมรสุมครั้งแรกมาถึง ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด จึงต้องการศึกษาสาเหตุของลักษณะต้นไม้ที่แตกต่างกันภายในป่ามรสุม

สถานที่ ศึกษาชนิดพรรณไม้ 20 ชนิด ในป่ามรสุมภาคเหนือของประเทศไทย ระยะเวลา 5-6 เดือน ในช่วงหน้าแล้งที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 800-1500 มม. ศึกษาในบริเวณสันเขาที่มีสภาพแห้งแล้งและเป็นป่าผลัดใบผสมสน และบริเวณลำห้วยที่มีสภาพชุ่มชื้นและเป็นป่าดิบผสมผลัดใบที่ความสูง 680-750 เมตร ใกล้กับจังหวัดเชียงใหม่ และในช่วงแห้งแล้งศึกษาชนิด Shorea siamensis ในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรด้านพื้นที่และอุณหภูมิของพืชพรรณชีพลักษณ์ที่มีผลกับรากในการดึงหาน้ำใต้ดิน

ผลลัพธ์ พบว่าในพื้นที่ชุ่มชื้นมีการผลัดใบช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ ส่วนพรรณไม้ในป่าเต็งรังที่ทนแล้งเป็นพันธุ์ที่เขียวชอุ่มตลอดปีในบริเวณที่ชื้นและต้นไม้จะผลิใบหลังจากผลัดใบไม่นานเมื่อใดก็ตามที่มีน้ำใต้ดินหนุนเข้ามา การผลัดใบในฤดูใบไม้ผลิเกิดจากความยาวคลื่นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติในป่าเต็งรังผสมโอ๊คของประเทศไทยและดูเหมือนจะแพร่หลายในป่ามรสุมแห้งของอินเดียในคาบสมุทรเดคคานซึ่งมีดินลึกและกักเก็บน้ำได้

ข้อสรุป ทุกชนิดพันธุ์ที่มีการผลิใบในช่วงฤดูแล้งอาศัยแหล่งน้ำใต้ดินซึ่งเป็นเกราะป้องกันจากความแห้งแล้งของสภาพอากาศเป็นเวลานาน โดยที่ปริมาณน้ำฝนไม่ได้เป็นตัวกำหนดหลักของลักษณะทางชีพลักษณ์ของพรรณพืช การแตกใบไม้ใหม่ก่อนฝนตกในฤดูร้อนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงในป่ามรสุม