FORRU
ห้องสมุด

การตรวจสอบพันธุกรรมของพันธุ์ไม้วงศ์ก่อสามชนิดในการทดลองฟื้นฟูป่า

Language:
Genetic assessment of three Fagaceae species in forest restoration trials
Date:
2019
Author(s):
Thongkumkoon P, S. Chomdej. J. Kampuansai, W. Pradit, P. Waikham, S. Elliott, S. Chairuangsri, D. P. Shannon, P. Wangpakapattanawong & A. Liu
Publisher:
Peer J. 7: E6958 http://doi.org/10.7717/peerj.6958
Serial Number:
66
Suggested Citation:

Thongkumkoon P, S. Chomdej. J. Kampuansai, W. Pradit, P. Waikham, S. Elliott, S. Chairuangsri, D. P. Shannon, P. Wangpakapattanawong & A. Liu. 2019. Genetic assessment of three Fagaceae species in forest restoration trials. Peer J. 7: E6958  http://doi.org/10.7717/peerj.6958

 

การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ที่แยกออกจากกันในภูมิประเทศที่เสื่อมโทรมอาจนำไปสู่การลดน้อยลงทางพันธุกรรมและการผสมพันธุ์ การศึกษานี้จึงได้ทำการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้วงศ์ก่อ 3 ชนิด ได้แก่ ก่อใบเลื่อม (Castanopsis tribuloides) ก่อหมูดอย (C. calathiformis) และก่อนก (Lithocarpus polystachyus) ซึ่งได้ปลูกเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าดิบชื้นในภาคเหนือของประเทศไทย ต้นกล้าเหล่านี้ได้จากเมล็ด ซึ่งถูกเก็บจากไม้แม่ในพื้นที่ป่าข้างเคียง 4-6 ต้น เราได้ทดสอบสมมติฐานว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่ฟื้นฟูจะต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรของต้นไม้ในป่าธรรมชาติ และการผสมพันธุ์ระหว่างพวกเดียวกันจะถูกแสดงโดยค่าดัชนีการตรึง (incidences of fixation index (Fis)) ระหว่างต้นกล้ารุ่นที่สองจากต้นปลูกที่สูงขึ้น โดยได้ทำการคัดเลือก microsatellite primers จากลำดับจีโนมทั้งหมดของก่อหมูดอย และทำการวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมของก่อใบเลื่อม ก่อนก และก่อหมูดอย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในพันธุกรรมระดับสูงในก่อใบเลื่อมและก่อหมูดอย (ก่อใบเลื่อม, 0.736 & ก่อหมูดอย, 0.481) อย่างไรก็ตามยังพบความหลากหลายทางพันธุกรรมระดับต่ำในก่อนก ดัชนีการตรึงสำหรับต้นกล้ารุ่นที่สองของก่อนกและก่อหมูดอยในพื้นที่ฟื้นฟูแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การผสมภายในกลุ่มประชากรเดียวกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการเก็บเมล็ดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของก่อใบเลื่อมและก่อหมูดอย อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบการผสมพันธุ์ในสายพันธุ์เดียวกันชี้ให้เห็นว่าการเก็บเมล็ดจากต้นแม่ไม้จำนวนมากขึ้นจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวสำหรับการรักษาสุขภาพทางพันธุกรรมของระบบนิเวศป่าที่ได้รับการฟื้นฟู