FORRU
ห้องสมุด

การศึกษาพืชพรรณในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง

Language:
การศึกษาพืชพรรณในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง
Date:
1997
Author(s):
Maxwell, J. F., S. Elliott and V. Anusarnsunthorn
Publisher:
Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 45(1): 71-97.
Serial Number:
57
Suggested Citation:

Maxwell, J. F., S. Elliott & V. Anusarnsunthorn, 1997. The vegetation of Jae Sawn National Park, Lampang Province, Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 45(1): 71-97.

หลังจากที่เข้าร่วมหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2535 อาจารย์แม็กซ์เริ่มดำเนินการโครงการรวบรวมพืชบนภูเขาหลายแห่งในภาคเหนือของของประเทศไทย เพื่อขยายหอพรรณไม้ของภาควิชา (CMUB) และฐานข้อมูลพรรณไม้เชิงนวัตกรรมในคอมพิวเตอร์ในภาคเหนือของประเทศไทย อีกทั้งกำหนดสภาพป่าประเภทต่างๆที่มีประโยชน์ต่อหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ช่วยให้เรากำหนดเป้าหมายการฟื้นฟูและตัดสินใจเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม บทความนี้นำเสนอผลการสำรวจอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน โดยใช้ฐานข้อมูลวิเคราะห์พรรณไม้ องค์ประกอบของชนิดป่าไม้ต่างๆ และลักษณะเด่นของพืช ซึ่งสามารถบ่งชี้ความเป็นมาของสภาพอุทยานแห่งชาติในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 งานวิจัยดังกล่าวมีคล้ายคลึงกับการศึกษาในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

บทนำ: งานวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายของพืชพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนค้นคว้าโดยเจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ของภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ.2538

พืชพรรณในที่ราบลุ่ม (ความสูง 300-800 ม.) รวมถึงไม้ไผ่ + ไม้ผลัดใบ (กลุ่มไม้สัก) และไม้เต็งรัง ในขณะที่จากระดับความสูง 800-1,000 ม. เป็นป่าดิบแล้งผสมผลัดใบ ถัดขึ้นไปเป็นป่าดิบตามฤดูกาลที่ระดับความสูง 1,000-1,500 ม. และ 1,800 ถึง 2,031 ม. (ดอยลังกา) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติ จากระดับความสูง 1,250 ม. ขึ้นไป โดยเฉพาะที่ระดับความสูง 1,500-1,800 ม. ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ป่าดิบชื้นผสมสน (Pinus kesiya Roy. ex Gord.,Pinaceae) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอทุยานแห่งชาติอยู่บนพื้นหินแกรนิต มีหินดินดานที่ความสูง 750 ม. และหินดินดานที่มีไฟไลต์ในบริเวณดอยลังกา ทางตอนเหนือของอุทยานอยู่บนหินปูนซึ่งมีแคลซิไฟต์จำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบพืชพรรณชนิดใหม่กว่า 7 ชนิด สำหรับฐานข้อมูลอนุกรมวิธาน พบมากถึง 1,353 สายพันธุ์ บันทึกไว้ ณ วันที่ 1 มีนาคม 1997 รวมถึงต้นไม้ 344 สายพันธุ์, 136 ต้นขนาดเล็ก, 106 ไม้เลื้อย, 58 พุ่มไม้, 447 เถาวัลย์, และ 562 พืชสมุนไพร ฐานข้อมูลได้ระบุป่าดิบแล้งธรรมชาติและป่าเบญจพรรณเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญสองแห่งในพื้นที่สำหรับการติดตามและตรวจสอบความหลากหลายทางพฤกษศาสตร์และเป็นแหล่งของสัตว์หายากและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่ง 83% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด ได้แก่ Podocarpus neriifolius D.Don (Podocarpaceae), Epirixanthes elongata BI (Polygalaceae) และ Cycas pectinata Griff.Balanophoraช่อดอกตัวผู้ของขนุนดิน (Balanophora fungosa J. R. & G. Forst. ssp. indica (Am.) B. Han var. indica (Balanophoraceae), พบดอยหล่อซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 1,650 เมตร โดยปกติจะสามารถพบได้ตามป่าดิบที่ยังไม่ถูกรบกวน ป่าที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ป่าไม้ที่มีสภาพดินเป็นพื้นหินแกรนิต (Maxwell 97-164, 2 มีนาคม 1997) จากสกุล Balanophora 6 ชนิดที่รู้จักในประเทศไทย พบ 3 ชนิดในอุทยาน ทุกชนิดจัดว่าเป็นไม้ล้มลุกผลัดใบ ไม่มีใบ เป็นไม้ปรสิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สามารถเติบโตบนรากของต้นไม้ต่างๆ ภาพโดย: S. Elliott