พฤติกรรมการจัดเก็บเมล็ดของพรรณไม้ท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย
Waiboonya, P., S. Elliott & P. Tiansawat, 2019. Seed storage behaviour of native forest tree species of northern Thailand Env. Asia.12(3):104-111. DOI 10.14456/ea.2019.50
Contributors
บทคัดย่อ : การเก็บรักษาเมล็ดพรรณไม้ท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาวิธีการฟื้นฟูป่าโดยใช้เมล็ด เช่น การหยอดเมล็ดหรือโปรยเมล็ดทางอากาศและเพื่อเพิ่มจำนวนต้นกล้าไม้ท้องถิ่นในเรือนเพาะชำเพื่อใช้สำหรับการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการปลูก การศึกษานี้ได้นำเสนอถึงการงอก การพักตัว และพฤติกรรมการเก็บรักษาเมล็ดของพรรณไม้ท้องถิ่น จำนวน 16 ชนิดที่ใช้ในการฟื้นฟูป่าดิบชื้นในภาคเหนือของประเทศไทย โดยพบว่าเป็นเมล็ดในกลุ่ม orthodox (เก็บได้ที่อุณหภูมิ -20˚C ที่ระดับความชื้น 5%) จำนวน 11 ชนิด ซึ่งเป็นไปตาม สัดส่วนที่สอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ ของป่าเขตร้อนตามฤดูกาล ได้แก่ Acrocarpus fraxinifolius, Adenanthera microsperma, Alangium kurzii, Bauhinia variegata, Choerospondias axillaris, Gmelina arborea , Hovenia dulcis, Manglietia garrettii, Melia azedarach, Phyllanthus emblica และ Prunus cerasoides พบเมล็ดในกลุ่ม recalcitrant (ไม่สามารถลดความชื้นหรือเก็บได้ที่เก็บได้ที่อุณหภูมิ -20˚C ) จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Artocarpus lacucha, Dimocarpus longan, Horsfieldia amygdalina และ Syzygium albiflorum ทุกชนิดยกเว้น D. longan เป็นเมล็ดที่ถูกเตรียมในช่วงต้นฤดูฝนดังนั้นจึงสามารถใช้สำหรับการหยอดเมล็ดได้โดยไม่ต้องเก็บ ทั้ง D. longan และ Diospyros glandulosa (เป็นชนิดในกลุ่ม intermediate โดยเมล็ดสามารถทำให้แห้งได้บางส่วน แต่ไม่สามารถแช่แข็งได้) ในการปลูกฟื้นฟูป่าทำได้โดยการผลิตต้นกล้าในเรือนเพาะชำแล้วนำไปปลูกเท่านั้น