การเพิ่มขึ้นของช่วงแสงกระตุ้นให้เกิดการผลิใบของต้นไม้ป่าเขตร้อนในที่ไม่มีฝน
Rivera, G., S. Elliott, L. S. Caldras, G. Nicolossi, V.T.R. Coradin & R. Borchert, 2002. Increasing day-length induces spring flushing of tropical dry forest trees in the absence of rain. Trees 16:445-456.
ในต้นไม้จำนวนมากจากมากกว่า 50 ชนิด จะแตกยอดโดยพร้อมเพรียงกันโดยมีการแปรผันระหว่างปีต่ำ ในช่วงปลายฤดูแล้งรอบฤดูใบไม้ผลิที่กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน พบในป่ากึ่งผลัดใบของอาร์เจนตินา คอสตาริกา ชวา และประเทศไทย และในทุ่งหญ้าสะวันนาเขตร้อนของภาคกลาง บราซิล การแตกยอดอยู่ระหว่าง 6 เดือนระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ และเริ่มประมาณ 1 เดือนก่อนหน้าในกึ่งเขตร้อน เมื่อเทียบกับละติจูดที่ต่ำกว่า การสังเกตเหล่านี้บ่งชี้ว่า “การผลิใบ” เช่น การแตกยอดโดยพร้อมเพรียงกันในช่วงวสันตวิษุวัตและสัปดาห์ก่อนที่ฝนจะตกครั้งแรกของฤดูฝนนั้น เกิดจากการกระตุ้นของช่วงแสงที่เพิ่มขึ้น 30 นาทีหรือน้อยกว่า การผลิใบก่อนเข้าฤดูฝนเป็นเรื่องปกติในป่ากึ่งผลัดใบซึ่งมีฤดูแล้ง 4-6 เดือน และมีปริมาณน้ำฝนรายปีอยู่ที่ 800-1,500 มม. แต่หาได้ยากในป่าเขต neotropical ที่มีฤดูแล้งสั้นกว่าหรือมีปริมาณน้ำฝนรายปีต่ำกว่า การสร้างใบใหม่ไม่นานก่อนเข้าสู่ฤดูฝนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงในป่าเขตร้อนที่มีฤดูการเติบโตค่อนข้างสั้น