FORRU
ห้องสมุด

วิทยาศาสตร์และสังคมวิทยาในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนของเอเชีย

Language:
The science and sociology of restoring Asia’s tropical forest ecosystems
Date:
2019-12
Author(s):
Elliott, S.
Publisher:
Env. Asia Special Issue 12:1-9. DOI 10.14456/ea.2019.57
Serial Number:
47
Suggested Citation:

Elliott, S., 2019. The science and sociology of restoring Asia’s tropical forest ecosystems. Env. Asia Special Issue 12:1-9. DOI 10.14456/ea.2019.57

 

บทนำ: เมื่อ 30 ปีที่แล้ว การปลูกป่าในเขตร้อนชื้นคือการเลือกปลูกด้วยระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยวประเภทไม้เศรษฐกิจ การฟื้นฟูระบบนิเวศเป็นสิ่งที่ทำยากเพราะขาดความรู้และเทคนิคเฉพาะทาง ทำให้นักนิเวศวิทยาเสาะหาวิธีที่ถูกต้องตั้งแต่นั้นมา ประกอบด้วย 1. การช่วยฟื้นตัวตามธรรมชาติ 2. การเลือกปลูกพรรณไม้ที่เหมาะสมในพื้นที่เหมาะสม 3. ปรับปรุงดินในพื้นที่เสื่อมโทรม เทคนิคดังกล่าวสามารถเพิ่ม 1.ชีวมวล 2. ความซับซ้อนของโครงสร้าง 3. ความหลากหลายทางชีวภาพ 4. กลไลทางระบบนิเวศ ในพื้นที่เสื่อมโทรมทุกระดับ ณ ตอนนี้ การฟื้นฟูป่าได้รับความสนใจมากขึ้นและเป็นหนึ่งโครงการแก้ไขปัญหาโลกร้อนขององค์การสหประชาชาติที่หวังจะฟื้นฟูพื้นที่ทั้งหมด 350 ล้านเฮคตาร์ภายใน ปี 2030 (บอนน์ ชาเลจ) อย่างไรก็ตามพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพกลายเป็นแปลงพืชเชิงเดี่ยว 45 เปอร์เซ็นต์ และไร่หมุนเวียน 21 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์หาวิธีเพื่อลดอุปสรรคทางเทคนิคในการฟื้นฟู แต่นักสังคมยังไม่ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดอุปสรรคทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเพียงพอ เช่น การกำกับดูแลที่ไม่ดี แรงจูงใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่เพียงพอ และกลไกการระดมทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ และนโยบายวิทยาศาสตร์ ดังนั้นนักสังคม นักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมือง ต้องให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่ามากขึ้นเพื่อลดช่องว่างของอุปสรรคให้ได้มากที่สุด