FORRU
ห้องสมุด

การขยายพันธุ์พรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่แห้งแล้งตามฤดูกาล: ผลกระทบของการแพร่กระจายและการพักตัวของเมล็ดพันธุ์ตามฤดูกาล

Language:
การขยายพันธุ์พรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่แห้งแล้งตามฤดูกาล: ผลกระทบของการแพร่กระจายและการพักตัวของเมล็ดพันธุ์ตามฤดูกาล
Date:
2002
Author(s):
Blakesley, D., S. Elliott, C. Kuarak, P. Navakitbumrung, S. Zangkum & V. Anusarnsunthorn.
Publisher:
Elsevier: Forest Ecology & Management 164:31-38.
Serial Number:
43
Suggested Citation:

Blakesley, D., S. Elliott, C. Kuarak, P. Navakitbumrung, S. Zangkum & V. Anusarnsunthorn, 2002. Propagating framework tree species to restore seasonally dry tropical forest: implications of seasonal seed dispersal and dormancy. Forest Ecology & Management 164:31-38.

บทคัดย่อ : แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าเขตร้อนที่เสื่อมโทรมคือวิธีการที่เรียกว่า "วิธีพรรณไม้โครงสร้าง" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมือง 20–30 ชนิดเพื่อสร้างโครงสร้างป่าพื้นฐานขึ้นมาใหม่เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ

สำหรับป่าเขตร้อนที่แห้งแล้งตามฤดูกาลของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุยทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้รวบรวมรายชื่อพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพ 36 สายพันธุ์จาก 19 วงศ์ที่แตกต่างกันเป็นตัวแทนของพืชพรรณไม้นานาชนิด บทความนี้จะพิจารณาลักษณะการงอกของเมล็ดพันธุ์เมื่อปลูกในเรือนเพาะชำ "พืช" สำหรับการปลูกเพื่อฟื้นฟูสถานที่ที่เสื่อมโทรมโดยมุ่งเน้นที่ลักษณะชีพลักษณ์ของการงอกและการพักตัว โดยพิจารณาว่าลักษณะดังกล่าวส่งผลอย่างไรในระยะเริ่มแรกของการเพาะชำตั้งแต่การเก็บเมล็ดจนถึงการแทงหน่อในเรือนเพาะชำ

โดย 20 ชนิดมีเปอร์เซ็นต์การงอก 60% หรือสูงกว่านั้นซึ่งเป็นที่ยอมรับสำหรับการเพาะชำ ค่าเฉลี่ยระยะเวลาของพักตัว (MLD) อยู่ในช่วง 7 วันสำหรับ Erythrina subumbrans และอาจถึง 219 วัน สำหรับ Lithocarpus garrettianus การงอกนั้นถูกกำหนดให้เป็นเป็นไปอย่างรวดเร็วหาก MLD < 3 สัปดาห์และช้าถ้าเป็น > 12 สัปดาห์ ซึ่ง 12 ชนิดงอกอย่างรวดเร็วและ 8 ชนิดงอกช้าส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างกลาง การงอกของต้นกล้าอยู่ในช่วง 7 วันในกรณีของ Erythrina stricta และ E. subumbrans เเละอาจไปถึง 322 วันในกรณีของ L. garrettianus